8 ความแตกต่างของอ่างน้ำร้อน และ อ่างอาบน้ำ

  • By Q&G
  • 13 พ.ย., 2564

8 ข้อสังเกต ที่ทำให้คุณจำแนกระหว่าง อ่างอาบน้ำ และ อ่างน้ำร้อนได้

ในบทความนี้ทางคิวแอนด์จี จะมาให้ข้อมูลสำหรับผู้ที่กำลังเลือกซื้ออ่างน้ำไปติดตั้งที่บ้าน เพื่อสร้างบรรยากาศของการพักผ่อน แทนการออกไปเที่ยวตามโรงแรม รีสอร์ท ในช่วงสถานการณ์โควิดที่เกิดขึ้น อ่างน้ำที่มีจำหน่ายอยู่ในปัจจุบันนั้นสามารถที่จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
อ่างน้ำร้อน ( Hot Tub หรือ Spa ) และ อ่างอาบน้ำ ( Bath Tub )

การเลือกซื้ออ่างน้ำสำหรับลูกค้าที่กำลังสร้างบ้านและผู้ที่กำลังปรับปรุงบ้านใหม่ หากมีข้อมูลที่เพียงพอในการประกอบการตัดสินใจ ก็จะสามารถเลือกซื้ออ่างน้ำที่จะตอบโจทย์ความต้องการที่แท้จริงได้ อีกทั้งยังเป็นการใช้งบประมาณในการซื้ออ่างน้ำได้อย่างคุ้มค่า เพราะความแตกต่างกันของอ่างอาบน้ำและอ่างน้ำร้อนจะช่วยให้ลูกค้าทราบสาเหตุที่อ่างน้ำทั้ง 2 ประเภท มี วิธีการใช้งาน ( Functions ) , คุณสมบัติในการใช้งาน ( Features ) และ ราคาจำหน่ายที่ต่างกัน

1. อ่างอาบน้ำ VS อ่างน้ำร้อน มีวัตถุประสงค์การใช้งานที่แตกต่างกัน

🫧อ่างอาบน้ำ ผลิตออกแบบมาเพื่อใช้สำหรับ “การอาบน้ำ” 🫧
ซึ่งหมายถึง ผู้ใช้งานสามารถที่จะใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดร่างกายลงไปในอ่างอาบน้ำได้
อาทิ สบู่ เจลอาบน้ำ ครีมอาบน้ำ ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่มีฟองโฟมอย่างบาธบอม รวมไปถึงการใส่เครื่องบำรุงผิวลงไปในอ่างจำพวก น้ำนม ผงแร่ธาตุ สมุนไพร เป็นต้น ในการใช้อ่างอาบน้ำนั้นนอกจากใช้เพื่อการอาบน้ำแล้ว ก็เพื่อที่จะแช่ตัวร่วมกับผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่กล่าวมา


 

♨️ อ่างน้ำร้อน
ผลิตออกแบบมาเพื่อ “การแช่น้ำ” ♨️
ซึ่งหมายถึง เป็นการแช่ตัว กับน้ำร้อน 100% เพื่อใช้ประโยชน์จากคุณสมบัติของน้ำร้อนให้ได้สุขภาพที่ดี
การแช่ตัวภายในอ่างน้ำร้อนจะเป็นการแช่ในน้ำเปล่าธรรมดา แต่เป็นน้ำที่มีความร้อน ซึ่งสามารถที่จะตั้งอุณหภูมิได้สูงสุดที่ 40 องศา ( ค่าอุณหภูมิที่ปลอดภัยกับร่างกายของเด็กโต จนถึงผู้สูงวัย ) เพื่อให้ได้รับประโยชน์ด้านสุขภาพจากคุณประโยชน์ของน้ำอุ่น, คุณสมบัติแรงพยุงตัวของน้ำ, และ ระบบนวด ที่เป็นไปตามศาสตร์ของธาราบำบัด คือ ช่วยในเรื่องของการนอนหลับ, ลดอาการเจ็บปวดของกระดูกข้อต่อ, บรรเทาความตึงของกล้ามเนื้อ, เพื่อความผ่อนคลาย, บรรเทาอาการปวดเมื้อยตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย,  ปรับสมุดลการเคลื่อนไหวของร่างกาย, กระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันด้วยการทำให้ระบบเลือดหมุนเวียนภายในทำงานเพิ่มขึ้น, รวมไปถึงจะช่วยลดภาวะความตึงเครียดได้อีกด้วย

2. อ่างอาบน้ำ VS อ่างน้ำร้อน มีวิธีการใช้น้ำในอ่างที่แตกต่างกัน

🫧อ่างอาบน้ำ ใช้น้ำโดยการเปลี่ยนถ่ายใหม่ทุกครั้ง 🫧
เมื่อเราใช้อ่างอาบน้ำโดยการใส่ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดร่างกาย หรือ ผลิตภัณฑ์ในการบำรุงผิวลงไปในอ่าง หลังจากใช้น้ำเสร็จก็จะทำการเปลี่ยนถ่ายน้ำทิ้งทุกครั้ง เมื่อต้องการใช้งานครั้งต่อไปก็จะเติมน้ำใหม่ลงไปในอ่าง


 

♨️อ่างน้ำร้อน ใช้น้ำโดยการเปลี่ยนถ่ายใหม่ทุก 3 เดือน ♨️
เนื่องจากวัตถุประสงค์ในการใช้งานต่างกัน - อ่างน้ำร้อนสามารถที่จะใช้น้ำเดิมได้ โดยไม่ต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำทุกครั้งหลังแช่ตัวเสร็จ ซึ่งผู้ใช้งานสามารถที่จะลงแช่ในอ่างน้ำร้อนได้ทันที เพราะมีน้ำอุ่นพร้อมให้ลงได้ตลอดเวลา โดยสามารถใช้น้ำเดิมได้สูงสุด ไม่ควรเกิน 3 เดือน สำหรับการใช้งานแบบส่วนตัว หรือ ภายในครอบครัว 

🔴สาเหตุที่อ่างน้ำร้อนสามารถใช้น้ำเดิมได้โดยไม่เปลี่ยนถ่ายน้ำ 🔴
อ่างน้ำร้อน มีระบบการกรองน้ำที่ทำงานอัตโนมัติทุกวัน 24/7
มีการฆ่าเชื้อโรคด้วยระบบโอโซน ในการกำจัดตะไคร่, เมือก, สิ่งสกปรก, และ สิ่งปนเปื้อนที่ออกมาจากร่างกาย อีกทั้งยังมีการฆ่าเชื้อโรคด้วยคลอรีนร่วมอยู่ด้วย ทั้งนี้คลอรีนที่ใช้ในอ่างน้ำร้อน จะเป็นชนิดที่อ่อนกว่าที่ใช้ในสระว่ายน้ำสาธารณะทั่วไป

🔴 การใช้งานอ่างน้ำร้อนที่ถูกต้อง 🔴
💧ลูกค้าจำเป็นจะต้องอาบน้ำก่อนการลงอ่างทุกครั้ง เช่นเดียวกับการลงออนเซ็น เพื่อป้องกันไม่ให้มีสิ่งสกปรกจากร่างกายและสิ่งปนเปื้อนลงไปภายในอ่างน้ำร้อน อาทิ เหงื่อไคล, ครีมบำรุงผิว, ครีมกันแดด, สเปรย์ระงับกลิ่นกาย,  เซรั่มบำรุงผิว, และ น้ำมันดูแลผิวพรรณ เป็นต้น
💧สวมใส่ชุดว่ายน้ำ 
** หากลูกค้าใช้เสื้อผ้าธรรมดาแบบทั่วไปลงอ่างน้ำร้อน จะต้องเป็นชุดที่ไม่ได้ซักด้วยผงซักฟอก และจำเป็นต้องใช้เสื้อผ้าเพียงชุดเดียวสำหรับลงอ่างเท่านั้น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดฟองจากผงซักฟอกที่ติดอยู่กับเสื้อผ้าลงไปในอ่างน้ำร้อน
- การใส่เสื้อผ้าที่มีการซักด้วยผงซักฟอก จะเกิดฟองออกมาภายในอ่าง - ระบบกรองน้ำและระบบการฆ่าเชื้อโรคไม่สามารถที่จะดักจับฟองผงซักฟอกออกไปได้ ดังนั้นจึงแนะนำเป็นชุดว่ายน้ำเพื่อใช้ลงแช่ตัวในอ่างน้ำร้อน, ช่วยลดระยะเวลาการดูแล - การบำบัดน้ำในอ่าง อีกทั้งยังช่วยให้น้ำใสสะอาดน่าลงไปแช่ตัวอีกด้วย

3. อ่างอาบน้ำ VS อ่างน้ำร้อน มีระบบทำน้ำอุ่นที่แตกต่างกัน

🫧อ่างอาบน้ำ ใช้น้ำอุ่นจากการติดตั้งเครื่องทำความร้อน หรือ ฮีตเตอร์ทีอยู่ภายนอกอ่าง 🫧
เมื่อต้องการลงไปใช้อ่างอาบน้ำ ต้องเปิดน้ำอุ่นเติมลงสู่อ่าง โดยฝักบัวหรือก๊อกน้ำร้อน

🔵 อ่างอาบน้ำ ไม่สามารถเก็บน้ำอุ่น ตามอุณหภูมิที่ตั้งค่าไว้ได้ เป็นการเติม และ ใช้งานในเวลา ณ ขณะนั้น 🔵
- อ่างน้ำร้อนแบบยุคเก่า - โดยส่วนใหญ่แล้วผู้ใช้งานจะไม่ทราบว่าอุณหภูมิน้ำที่เติมลงไปนั้น มีความร้อนกี่องศาเซลเซียส เป็นการเติมน้ำโดยประเมินจากความรู้สึกส่วนตัวของผู้ใช้งานเอง ด้วยการใช้มือสัมผัสว่าน้ำร้อนแค่ไหนที่จะสามารถลงไปแช่ได้ ซึ่งผู้ใช้งานจะหาอุณหภูมิน้ำที่แน่นอนไม่ได้ เพราะใช้วิธีการเติมน้ำลงไปด้วยการกะเกณฑ์ ผสมระหว่างน้ำเย็นกับน้ำอุ่น
- อ่างน้ำร้อนในปัจจุบัน - สามารถตั้งค่าอุณหภูมิน้ำได้ ตามที่ต้องการ 


  

♨️ อ่างน้ำร้อน มีระบบทำความร้อนที่ติดตั้งอยู่ภายในตัว♨️
สามารถที่จะเลือกปรับอุณหภูมิความร้อนได้ตามต้องการ โดยจะมีหน้าจอควบคุมแสดงผลอุณหภูมิของน้ำในอ่าง และมีปุ่มปรับเปลี่ยนอุณหภูมิได้
เช่น หากผู้ใช้งานต้องการน้ำร้อนที่อุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส : ความร้อนของน้ำในอ่างก็จะคงที่ตลอดทุกวัน ไม่ว่าลูกค้าจะลงแช่น้ำในเวลากลางคืน หรือ  ในเวลาเช้า ลูกค้าก็จะได้แช่ในอุณหภูมิน้ำร้อนที่ตั้งค่าไว้ตามความชื่นชอบ

🔴 มีระบบตรวจจับอุณหภูมิ มีการรักษาอุณหภูมิความร้อนให้คงที่ตลอด 24 ชั่วโมง 🔴
การทำงานของระบบทำน้ำอุ่นภายในอ่างน้ำร้อน ด้วยคุณสมบัติในการรักษาอุณหภูมิให้น้ำร้อนคงที่อยู่ตลอดเวลานั้น อาจจะทำให้ลูกค้ากังวลว่า อ่างน้ำร้อนจะส่งผลกระทบต่อค่าไฟฟ้าที่ลูกค้าต้องจ่ายในแต่ละเดือน แต่ในความเป็นจริงแล้ว ระบบฮีตเตอร์ไม่ได้ทำงานตลอดเวลา จะทำงานก็ต่อเมื่อมีอุณหภูมิน้ำที่ลดลงจากการตั้งค่าไว้เท่านั้น

ทั้งนี้ค่าไฟฟ้าสำหรับอ่างน้ำร้อนแบบ Outdoor นั้นไม่ได้มีค่าใช้จ่ายที่สูงนัก สามารถติดตามอ่านเรื่องค่าไฟฟ้าของระบบทำน้ำอุณหภูมิในอ่างน้ำร้อนได้ในบทความก่อนหน้านี้ ( ค่าไฟฟ้าของอ่างน้ำร้อน Outdoor )

4. อ่างอาบน้ำ VS อ่างน้ำร้อน มีระบบนวดที่แตกต่างกัน

🫧 อ่างอาบน้ำ มีการเลือกตำแหน่งในการติดตั้งระบบนวดไว้ที่ผนังด้านข้างอ่าง และ พื้นอ่าง  🫧
 🔵 ด้วยระบบนวดแบบเจ็ท และ ระบบนวดแรงดันอากาศ 🔵
ตำแหน่งของหัวนวดในอ่างอาบน้ำ ไม่ได้ติดตั้งเพื่อใช้นวดในบริเวณกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ทั่วทั้งตัว โดยทั่วไปผู้ใช้งานจะได้รับระบบนวดบริเวณส่วนใต้ขา, ข้างขา, กล้ามเนื้อบริเวณเอว และ หลัง เพียง 1 - 2 จุดเท่านั้น เนื่องด้วยข้อจำกัดของขนาดอ่าง และ ระดับความลึกของอ่างอาบน้ำ ระบบนวดภายในอ่างอาบน้ำจึงสร้างประสิทธิภาพการนวดได้เพียงระดับหนึ่ง

 🔵 โดยส่วนใหญ่แล้วอ่างอาบน้ำเกือบทุกรุ่นจะเน้นการติดตั้งระบบนวดแบบแรงดันอากาศ  🔵
คือ ระบบนวดที่ใช้ปั๊มพ์ลมในการสร้างแรงดันของการนวด สามารถสร้างบรรยากาศของการแช่น้ำได้ดี แต่จะส่งผลในด้านประสิทธิภาพของการนวดได้น้อยกว่า แบบระบบหัวเจ็ท ทั้งนี้หัวนวดแบบเจ็ทภายในอ่างอาบน้ำจะมีการติดตั้งจำนวนไม่มาก เฉลี่ยประมาณ 4 - 8 หัวนวด ส่วนขนาดของหัวนวดจะเป็นหัวนวดขนาดเล็ก และหัวนวดขนาดกลางในบางรุ่น ทั้งนี้จะมีไม่มีฟังก์ชั่นการปรับระดับความแรงของนวดเฉพาะจุด


 

♨️ อ่างน้ำร้อน มีการออกแบบให้ตั้งค่า และ ปรับระดับหัวนวดได้ทั้งแบบระบบนวดเจ็ท และ ระบบนวดแรงดันอากาศ ♨️
🔴อ่างน้ำร้อนที่มีระดับราคาสูง
จะใช้การติดตั้งด้วยระบบนวดแบบหัวเจ็ท 100% ทั่วทั้งอ่าง 🔴
โดยวางตำแหน่งเพื่อทำหน้าที่ในการนวดต่อกล้ามเนื้อ ณ ส่วนที่มีความตึง มีอาการปวดเมื่อยได้อย่างลงตัว กล่าวคือ การวางจุดนวดตำแหน่ง คอ,บ่า, กลาง, หลัง, เอว, ใต้ขาท่องบน, น่องขา, ไปจนถึง ฝ่าเท้า
ทั้งนี้ยังเน้นในด้านของคุณภาพระบบนวดที่ส่งผลต่อกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ได้ดี ด้วยการเลือกใช้หัวนวดขนาดกลาง และ หัวนวดขนาดใหญ่

🔴 เมื่อเปรียบเทียบกับอ่างอาบน้ำแล้ว อ่างน้ำร้อนจะมีการติดตั้งระบบนวดด้วยจำนวนที่มากกว่า 🔴
เช่น อ่างน้ำร้อนขนาดความยาว 2 เมตร x กว้าง 2 เมตร รองรับการใช้งาน 4 - 5 คน จะมีระบบนวด 40 - 60 จุด ขึ้นอยู่กับการออกแบบที่ต่างกันไปตามแต่ละรุ่นจากทางผู้ผลิต เป็นต้น

เนื่องจากอ่างน้ำร้อนมีตำแหน่งที่นอน และ ที่นั่งหลายตำแหน่ง โดยในแต่ละที่นั่ง & ที่นอนนั้น จะมีจุดนวดที่แตกต่างกันออกไป เพื่อทำหน้าที่ในการไปได้ทั่วทั้งร่างกาย นอกจากนี้ยังมีฟังก์ชั่นในการปรับระดับความแรงได้ด้วยวาล์วปรับอากาศ และ วาล์วเปลี่ยนทิศทางน้ำ ซึ่งลูกค้ายังสามารถเปิดระบบนวดเฉพาะจุดที่ต้องการ เช่น การเปิดเน้นให้มีการนวดบริเวณบ่าและคอ เป็นต้น

5. อ่างอาบน้ำ VS อ่างน้ำร้อน มีระดับความลึกภายในอ่างที่แตกต่างกัน

🫧 อ่างอาบน้ำ โดยส่วนใหญ่จะมีระดับความลึกของน้ำ เฉลี่ยที่ 30 - 45 ซม. 🫧
ขึ้นอยู่กับรุ่นของอ่างอาบน้ำ เมื่อผู้ใช้งานลงไปนั่งในอ่างอาบน้ำ ก็จะมีระดับน้ำอยู่ประมาณหน้าท้องถึงกลางลำตัวเท่านั้น ภายในอ่างอาบน้ำจะมีระดับความลึกอยู่ที่ระดับเดียว

เช่น อ่างอาบน้ำที่มีระดับความลึก 30 ซม. ทุกจุดของอ่างอาบน้ำ ก็จะมีระดับความลึกที่ 30 ซม เท่ากันทั่วทั้งอ่าง เป็นต้น


 

♨️อ่างน้ำร้อน มีระดับความลึกของน้ำ เฉลี่ยที่ 55 - 65 ซม. ♨️
โดยแบ่งระดับความภายในอ่างน้ำร้อนได้ 3 ระดับ คือ 1. ระดับกลางหน้าอก2. ระดับท่วมถึงบ่า และ 3.ระดับน้ำท่วมถึงคอ
ภายในอ่างน้ำร้อน 1 อ่าง จะมีระดับความลึกหลายระดับ เนื่องจากพื้นที่ใช้สอยภายในได้ถูกออกแบบให้มีหลายที่นั่ง และ ที่นอน เพื่อให้ผู้ใช้งานได้ประโยชน์ด้านสุขภาพกาย เป็นผลมาจากระดับความลึกที่หลากหลาย

♨️ระดับความลึกของน้ำ มีผลต่อสุขภาพกายอย่างไร ?   ♨️
ด้วยคุณสมบัติแรงพยุงตัวของน้ำ เมื่อลูกค้าแช่ตัวในอ่างน้ำร้อนที่มีระดับลึกที่เหมาะสม ก็จะยิ่งได้ประโยชน์จากแรงพยุงตัวของน้ำ ที่เข้ามาทำหน้าที่ในการรับน้ำหนักตัวแทนกระดูกข้อต่อ ช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบหมุนเวียนเลือดได้เพิ่มขึ้น ตามระดับน้ำที่มีความลึกขึ้น

นอกจากนี้การแช่น้ำในระดับที่ลึกยังส่งผลให้เกิดความผ่อนคลายต่อร่างกายได้ดีกว่าการแช่น้ำในระดับที่ตื้น ผู้ใช้งานจะรู้สึกเบาสบายไปทั่วทั้งตัว เมื่อขึ้นจากอ่างน้ำร้อนแล้ว

6.  อ่างอาบน้ำ VS อ่างน้ำร้อน มีขนาดที่แตกต่างกัน ตามการใช้งาน

🫧  อ่างอาบน้ำ เป็นอ่างที่ออกแบบมาใช้งานแบบส่วนตัว จะมีพื้นที่อ่างน้ำขนาดเล็ก  🫧
เป็นการใช้งานแบบส่วนตัว ไม่เกิน 2 ท่าน หากมองในด้านความยาวของอ่างน้ำแล้ว จะเห็นได้ว่าอ่างอาบน้ำส่วนใหญ่มีความยาว 120 - 190 เซนติเมตร มีเพียงอ่างอาบน้ำบางรุ่นเท่านั้นที่ยาวถึง 200 เซ็นติเมตร หรือ มากกว่า ทำให้ผู้ใช้งานบางท่าน เมื่อลงไปนอนแช่ในอ่างอาบน้ำ จะไม่สามารถเหยียดขาแบบสุดตัวได้ การแช่น้ำในอ่างอาบน้ำจึงเป็นลักษณะการนอนแบบงอขา และ การนั่งแช่น้ำแทน

เมื่อมองด้านของความกว้างในอ่างอาบน้ำ จะมีความกว้างอยู่ที่ 75 - 150 เซ็นติเมตร การแช่น้ำในพื้นที่จำกัด อาจทำให้รู้สึกไม่สบายตัว ไม่ได้รับความผ่อนคลายมากเท่ากับการแช่ตัวในอ่างที่มีพื้นกว้างใหญ่กว่า ในขณะที่อ่างอาบน้ำขนาด 2 คน จะมีพื้นที่ใช้สอยภายในค่อนข้างเล็ก 


 

♨️อ่างน้ำร้อน ได้มีการออกแบบให้มีพื้นที่ใช้สอยภายในที่ใหญ่กว่าอ่างอาบน้ำ♨️
เช่น อ่างน้ำร้อนขนาด 2 คน จะมีความยาวที่ 2 เมตร ขึ้นไป เพื่อมุ่งเน้นให้ผู้ใช้งานได้นอนเยียดตัวได้สุด ได้รับความผ่อนคลายอย่างเต็มที่ อีกทั้งยังมีความกว้างสบาย เพราะขนาดความกว้างของอ่างน้ำร้อนที่มากกว่า การลงไปใช้งานพร้อมกันสำหรับอ่างน้ำร้อน 2 คนในอ่างน้ำร้อนก็จะไม่รู้สึกอึดอัด

อ่างน้ำร้อนแบบ Outdoor โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นอ่างที่มีพื้นที่ใช้สอยขนาดใหญ่ มีรุ่นที่สามารถจะรองรับการใช้งาน 4 - 6 คนได้พร้อมกัน หรือ สามารถรองรับได้ถึง 10 คน ตามขนาดของรุ่นอ่างน้ำร้อนที่เลือกติดตั้ง ซึ่งทำให้ลูกค้าสามารถที่จะแช่น้ำร่วมกับครอบครัว คนรัก เพื่อน ๆ ได้อย่างสะดวกสบาย

ในการออกแบบพื้นที่ใช้สอยภายในอ่างน้ำร้อนนั้น ผลิตออกมาให้มีหลากหลายตำแหน่งที่นอน และ ที่นั่ง ซึ่งนอกจากจะทำให้ผู้ใช้งานเปลี่ยนมุมในการชมทิวทัศน์ ยังได้รับประโยชน์จากตำแหน่งของระบบนวดที่แตกต่างกันไปในแต่ละที่นั่งอีกด้วย

7. อ่างอาบน้ำ VS อ่างน้ำร้อน ใช้พื้นที่ติดตั้งแตกต่างกัน

🫧  อ่างอาบน้ำ ถูกผลิตออกมาเพื่อการติดตั้งใช้งานภายในอาคาร  🫧

🔵 โดยส่วนใหญ่จะติดตั้งอยู่ภายในห้องน้ำ และ ภายในห้องดูแลสุขภาพ หรือ ใกล้กับห้องอบซาวน่า 🔵
อ่างอาบน้ำที่มีจำหน่ายอยู่ในปัจจุบันมีวัสดุให้เลือกหลากหลาย เช่น อ่างอาบน้ำวัสดุไฟเบอร์กลาส มีพื้นผิวชั้นสีเป็นเจลโค๊ด, อ่างอาบน้ำวัสดุเซรามิค, อะคริลิค, หินสังเคราะห์, อ่างอาบน้ำทำด้วยเหล็ก, อ่างอาบน้ำที่มีวัสดุเป็นไม้จริง, อ่างอาบน้ำที่มีวัสดุเป็นหินอ่อน, และ อ่างอาบน้ำวัสดุที่เป็นทองแดง เป็นต้น

🔵 วัสดุความคงทนของอ่างอาบน้ำ ไม่สามารถที่จะทนต่อสภาพอากาศภายนอกอย่างแสงแดดได้โดยตรง 🔵
อ่างน้ำที่ไม่มีการเคลือบสารป้องกันรังสียูวี วัสดุของอ่างอาบน้ำจะเปลี่ยนสภาพให้เห็นได้เช่น มีอาการแตกร้าว, อาการบวมของพื้นผิว, และ การรั่วซึม เป็นต้น

แต่อย่างไรก็ตาม หลายท่านอาจจะเคยเห็นอ่างอาบน้ำที่ติดตั้งอยู่ในลักษณะกึ่งภายนอก หรือ นำไปติดตั้งในลักษณะแบบภายนอกโดยตรง ตามสถานที่ท่องเที่ยวในโรงแรม รีสอร์ท ในบริเวณระเบียงห้องนอนริมทะเล หรือ การติดตั้งอ่างอาบน้ำนอกชานไม้ทางเดิน เพื่อรับบรรยากาศการแช่น้ำในวิวภูเขาธรรมชาติ เป็นต้น
ซึ่งการติดตั้งอ่างอาบน้ำไว้ภายนอกนั้นจะทำให้มีอายุการใช้งานที่สั้นลง หากลูกค้าท่านใดกำลังมีความคิดว่าจะทำอ่างอาบน้ำไว้นอกบ้านนั้น ให้คำนึงถึงการเปลี่ยนอ่างอาบน้ำใหม่ในอนาคตด้วย เพราะในระยะยาววัสดุโครงสร้างของอ่างอาบน้ำจะเสื่อมสภาพไม่สามารถที่จะซ่อมแซมได้ เมื่อทำการติดตั้งใช้งานภายนอก


 


♨️ อ่างน้ำร้อน ผลิตออกมาเพื่อการติดตั้งแบบกลางแจ้ง Outdoor โดยตรง ♨️
🔴คุณสมบัติของวัสดุพื้นผิวอ่าง มีการสร้างความแข็งแรงของโครงสร้างเนื้ออ่างด้วยการเสริมไฟเบอร์กลาส🔴
จึงมีความหนาพิเศษที่มีความสามารถในการรองรับน้ำหนักของน้ำในอ่างและผู้ใช้งานได้อย่างดีเยี่ยม ซึ่งจะป้องกันการรั่วซึมของปัญหาอ่างน้ำ พื้นผิวของอ่างน้ำร้อนชั้นแรกจะเป็นวัสดุอะคริลิค ที่มีเกรดคุณภาพสูงกว่าอ่างอาบน้ำที่เป็นวัสดุอะคริลิค สามารถที่จะทนต่อความร้อนได้ คุณภาพของอะคริลิคจะมีการป้องกันการบวม การแตกแยก การหดตัวจากความร้อนได้ ซึ่งอ่างน้ำร้อนนั้นเป็นอ่างที่ถูกผลิตคิดค้นมาเพื่อการใช้งานภายนอกบ้านโดยเฉพาะ

🔴เทคนิคในการผลิตอุปกรณ์อื่น ๆ ที่ติดตั้งภายในอ่างน้ำร้อน ให้มีอายุการใช้งานที่นานขึ้น 🔴
นอกจากวัสดุหลักที่เป็นตัวอ่างแล้ว ยังรวมไปถึงเทคนิคในการผลิตอุปกรณ์อื่น ๆ ที่ติดตั้งภายในอ่างน้ำร้อนมีจุดประสงค์เพื่อให้สามารถใช้ภายนอกอาคารได้ กล่าวคือ ในส่วนของการวางระบบท่อน้ำ, ระบบปุ่มกดควบคุม, ระบบแผงวงจร, ระบบทำความร้อน, หัวนวดเจ็ท, วาล์วควบคุม, ปั๊มพ์น้ำ, โครงสร้างรับน้ำหนัก, การตกแต่งด้วยไม้เทียมรอบอ่างน้ำร้อน, และ ฐานอ่าง

ยกตัวอย่างเช่น ในการผลิตไม้เทียมรอบอ่างน้ำร้อนนั้น นอกจากจะให้ความสวยงามแล้ว ยังมีคุณสมบัติป้องกันน้ำฝน ไม่ให้เข้าไปภายใต้ท้องอ่างน้ำร้อนอีกด้วย เนื่องจากระบบแผงวงจร ระบบปั๊มพ์น้ำ, ฮีตเตอร์, และ โครงสร้างเสริมที่รับน้ำหนัก ที่กล่าวมานี้ ถูกติดตั้งอยู่ใต้ท้องอ่างทั้งหมด

จึงกล่าวได้ว่า การติดตั้งฐานใต้อ่างเพื่อป้องกันความชื้นให้กับโครงสร้างและระบบไฟฟ้าของอ่างน้ำร้อนให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น

8. อ่างอาบน้ำ VS อ่างน้ำร้อน ให้การดูแลรักษาแตกต่างกัน

🫧  อ่างอาบน้ำ ที่ติดตั้งอยู่ในห้องน้ำจำเป็นต้องมีการดูแล - ทำความสะอาดพื้นผิวอ่าง หลังจากใช้งานเป็นประจำ  🫧

🔵  สาเหตุของคราบเหลือง คราบสกปรกบนอ่างอาบน้ำ  🔵
ด้วยธรรมชาติของวัสดุที่ใช้ผลิตอ่างน้ำเมื่อมีการใช้ไปในระยะยาวแล้ว จะเกิดการสะสมตัวของคราบฝังลึก จากแบคทีเรีย, เมือก, รวมถึง สิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก ซึ่งจะมีลักษณะเป็นคราบให้เห็นบนขอบอ่างอาบน้ำ ตามระดับน้ำที่ใช้งานเป็นประจำ รวมไปถึงการเกิดคราบเหลืองไปทั่วทั้งอ่าง

จากอ่างอาบน้ำที่ซื้อมาใช้ครั้งแรกเป็นสีขาวก็กลับกลายเป็นสีเหลือง ไม่น่าลงไปแช่น้ำอีกต่อไป ด้วยสาเหตุที่มาจากตัวน้ำที่เติมลงไปอาจมีตะกอนหนักปะปนอยู่ด้วย อาทิ หินปูน และ ตะกรัน เป็นต้น เมื่อรวมเข้ากับการสะสมตัวของสิ่งสกปรก รวมไปถึงผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดร่างกายต่าง ๆ  เมื่ออ่างอาบน้ำเกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นผิวทั่วทั้งอ่าง เจ้าของอ่างจำเป็นต้องใช้เคมีในการฟื้นฟูสภาพพื้นผิวอ่างอาบน้ำ เพื่อกำจัดสิ่งปนเปื่อนที่ฝังอยู่ในเนื้ออ่าง หรือ อาจต้องเรียกใช้บริการบริษัทที่รับทำความสะอาด ซ่อมบำรุงอ่างอาบน้ำโดยเฉพาะเข้ามาดูแลจัดการ

🔵อ่างอาบน้ำต้องมีการซ่อมบำรุงพื้นผิวหรือชั้นสีของอ่างอาบน้ำด้วย 🔵
อ่างอาบน้ำไม่ว่าจะผลิตมาด้วยวัสดุใดก็ตาม พื้นผิวมักเกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพจากน้ำที่ใช้, การเกิดปฏิกิริยาเคมี, และ การสะสมตัวของผลิตภัณฑ์ที่ใช้แช่ตัวในอ่างอาบน้ำ
ด้วยอายุการใช้งานของพื้นผิวของอ่างอาบน้ำเองหากไม่ต้องการที่จะซื้ออ่างอาบน้ำใหม่ ก็มีความจำเป็นต้องซ่อมแซม เช่น การเกิดการแตกแยก - การหลุดร่อนของชั้นสีอ่างอาบน้ำ ทำให้ต้องมีการเคลือบสี ทำชั้นสีของอ่างอาบน้ำใหม่ 

🔵 อย่าลืมใส่ใจระบบท่อภายในอ่างอาบน้ำด้วยนะ  🔵
ระบบท่อภายในอ่างอาบน้ำก็เช่นเดียวกัน เมื่อถึงระยะเวลาหนึ่งลูกค้าก็จำเป็นต้องมีการใส่เคมี ในการล้างทำความสะอาดระบบท่อภายในอ่างอาบน้ำ เนื่องจากวิธีการใช้น้ำในอ่างอาบน้ำ ที่เปลี่ยนน้ำทุกครั้งหลังใช้งาน และ การใส่ผลิตภัณฑ์ในการบำรุงผิวต่าง ๆ สำหรับการสปาผิวพรรณ ลงไปแช่น้ำในอ่าง อาทิ สบู่, ครีม,  หรือ ผงแร่ออนเซ็น เป็นต้น
2 สาเหตุหลักนี้
จะทำให้เกิดการสะสมตัวของสิ่งสกปรกอยู่ในระบบท่อ หากลูกค้าไม่ทำความสะอาดระบบท่อน้ำภายในอ่างอาบน้ำ เมื่อมีการเปิดใช้งานระบบนวด ก็จะพบเห็นคราบเมือก ตะไคร่น้ำที่ฝังตัวอยู่ในภายในระบบท่อออกมาปะปนร่วมอยู่ภายในอ่างอาบน้ำ

🔵 ปัญหาพื้นอ่างอาบน้ำแตก, พอง, รั่วซึม  🔵
นอกจากนี้ ลูกค้าจำเป็นต้องมีการซ่อมบำรุงจากปัญหาการรั่วซึมของโครงสร้างอ่างอาบน้ำ เนื่องจากการผลิตอ่างอาบน้ำนั้นได้สร้างให้มีความหนาระดับเพียงระดับหนึ่ง ด้วยจุดประสงค์ด้านขนาดการใช้งานที่ไม่ใหญ่มาก และ ราคาการจำหน่ายที่ไม่สูง อ่างอาบน้ำเมื่อใช้งานไปในระยะยาวแล้วจะเกิดการแตกร้าวที่ชั้นเนื้ออ่าง จึงจำเป็นต้องมีการซ่อมแซมปัญหาการรั่วซึม

เช่น กรณีอ่างอาบน้ำที่เป็นวัสดุไม้จริง
: ด้วยธรรมชาติของไม้ เมื่อปล่อยให้แห้งอันเนื่องจากลูกค้าไม่ได้ใช้งาน จะทำให้มีการหดตัว ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาหาอ่างอาบน้ำแบบไม้รั่วได้  กรณีอ่างอาบน้ำวัสดุอะคริลิค ที่เสริมด้วยพลาสติกด้านหลังอะคริลิคก็จำเป็นต้องซ่อมแซมพลาสติกใหม่ และ กรณีที่เป็นอ่างไฟเบอร์กลาส ก็ต้องมีการซ่อมแซมไฟเบอร์กลาสใหม่ เป็นต้น

🔵 ราคา และ ค่าซ่อมแซม ที่ใช้ในการรื้อถอนการติดตั้งอ่างอาบน้ำ ด้วยเหตุผลที่จำเป็น 🔵
ในการซ่อมบำรุงเนื้อโครงสร้างอ่างที่เป็นปัญหาการรั่วซึมของอ่างอาบน้ำ ลูกค้าจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรื้อถอน การประกอบติดตั้ง การวางระบบเข้าไปใหม่เมื่อซ่อมเสร็จด้วย เพราะในการติดตั้งอ่างอาบน้ำโดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการติดตั้งแบบฝังร่วมไปกับคอนกรีต หรือ อาจมีการปูกระเบื้องโดยรอบอ่างอาบน้ำด้วย การติดตั้งอ่างอาบน้ำเป็นการติดตั้งร่วมกับวัสดุที่เป็นถาวร ไม่สามารถที่จะรื้อออกมา หรือ ซ่อมโดยไม่ทำลายวัสดุที่ตกแต่งโดยรอบอ่างได้ ร่วมไปถึงระบบท่อน้ำของอ่างอาบน้ำด้วย ซึ่งลูกค้าจำเป็นต้องเตรียมตัวรับมือกับการเป็นเจ้าของอ่างอาบน้ำที่ติดตั้งอยู่ในห้องน้ำว่า เมื่อถึงวันหนึ่งในอนาคตก็จำเป็นต้องมีงบประมาณในการซ่อมบำรุงอ่างอาบน้ำ และ การตกแต่งในพื้นที่โดยรอบใหม่


♨️ อ่างน้ำร้อน ผลิตด้วยเทคโนโลยียับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียบนพื้นผิวของอ่าง ♨️

🔴 สาเหตุสำคัญ ที่ทำให้อ่างน้ำร้อน Q&G ดูแลง่าย ปราศจากคราบสกปรก เสมือนใหม่อยู่เสมอ  🔴
อ่างน้ำร้อน Q&G มีพื้นผิววัสดุเป็นอะคริลิคที่มีเทคโนโลยีในการป้องกันการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กเข้าไปฝังตัวอยู่ในชั้นสีของอ่างน้ำร้อน อ่างน้ำร้อนจึงไม่จำเป็นต้องทำการดูแลพื้นผิวหนักเท่ากับอ่างอาบน้ำ

อ่างน้ำร้อนจะไม่มีคราบฝังลึกตามขอบอ่างที่เป็นระดับน้ำที่ลูกค้าเติมลงไป ส่วนคราบตะกอนหนัก เช่น หินปูน ตะกรัน ก็จะไม่เกาะติดที่ชั้นพื้นผิวของอ่าง เพราะนอกจากชั้นสีของอ่างน้ำร้อนมีเทคโนโลยีป้องกันแบคทีเรียแล้ว อ่างน้ำร้อนยังมีระบบกรองน้ำ ที่เป็นส่วนสำคัญหลัก เพื่อให้น้ำได้คุณภาพที่สะอาด ไม่ก่อให้เกิดแบคทีเรีย สร้างประโยชน์ต่อวารีบำบัด และ การใช้งานอ่างน้ำร้อนได้สูงสุด

ด้วยคุณภาพของวัสดุอะคริลิคที่ผลิตออกมาใช้ภายนอกโดยตรงของอ่างน้ำร้อนที่มีคุณภาพสูงกว่าอ่างอาบน้ำ ซึ่งความหนาที่ 3 มม. ลูกค้าจึงไม่ต้องทำการซ่อมพื้นผิวชั้นสีของอ่างน้ำร้อน ไม่ต้องทำการเคลือบสีใหม่เมื่อใช้งานไปในระยะยาว

🔴ระบบหมุนเวียน เพื่อบำบัดให้น้ำร้อนในอ่าง สะอาด พร้อมใช้งานตลอด 24/7 🔴
ด้วยการฆ่าเชื้อโรคด้วยระบบโอโซน ทำงานร่วมกันกับ คลอรีน มีการกรองน้ำอัตโนมัติทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมงนี้ ไม่เพียงแต่ได้น้ำที่ใสสะอาดกลับคืนสู่ตัวอ่างน้ำร้อนแล้ว ระบบทำความสะอาดของอ่างน้ำร้อน ยังได้รับการทำความสะอาดระบบท่อน้ำไปพร้อมกัน อ่างน้ำร้อนจึงไม่ต้องการดูแลระบบท่อน้ำเหมือนกับอ่างอาบน้ำ ไม่ต้องใส่เคมีในการทำความสะอาดระบบท่อน้ำภายใน เมื่อใช้งานในระยะเวลานาน ๆ

🔴 สร้างเหตุในการปฏิบัติตามการใช้งานที่ถูกต้อง ช่วยลดค่าใช้จ่าย ยืดอายุการใช้งานให้อ่างน้ำร้อนได้นานขึ้น 🔴
ปฏิบัติการใช้งานอ่างน้ำร้อนให้ถูกวิธี ด้วยการอาบน้ำ ชำระร่างกายก่อนลงแช่น้ำอุ่นทุกครั้ง และไม่ใส่ผลิตภัณฑ์ อาทิ สบู่ทุกประเภท ( สบู่เหลว / สบู่ทำฟอง ) และ ผงออนเซ็น ลงไปในอ่างน้ำร้อน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดสารตกค้างในระบบท่อ นอกจากจะลดปัญหา และ ลดระยะเวลาในการดูแลอ่างน้ำร้อนได้อย่างดีเยี่ยมแล้ว ลูกค้ายังได้ใช้สปาน้ำร้อนที่ดีต่อสุขภาพผิว เพราะไม่มีการสะสมตัวของเมือก, รา, ตะไคร่น้ำ, และ แบคทีเรีย ตามระบบท่อน้ำอีกด้วย

🔴อ่างน้ำร้อนมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่า 🔴
ด้วยการผลิตเนื้ออ่างเป็นชิ้นเดียวกัน มีการเสริมความแข็งแรงของไฟเบอร์กลาสให้สามารถรองรับน้ำหนักของน้ำและโครงสร้างอ่างน้ำร้อนได้ด้วยตัวเอง จึงไม่ต้องทำการซ่อมบำรุงจากปัญหาการรั่วซึมที่เนื้ออ่างบ่อยเท่ากับอ่างอาบน้ำ รวมไปถึงรายละเอียดในการติดตั้งระบบท่อน้ำของอ่างน้ำร้อนจะมีคุณภาพที่สูงกว่าอ่างอาบน้ำ อาทิ การติดตั้งระบบท่อน้ำของหัวนวดเจ็ท ที่นอกจากจะมีการใช้ท่ออ่อนที่มีความยืดหยุ่นทนความร้อนแล้ว ยังมีการรัดด้วยสายรัด ที่ท่อหัวนวดเจ็ท เสริมอายุการใช้งานให้นานขึ้นกว่าการเสียบท่อทากาวเพียงอย่างเดียว รวมไปถึงใช้กาวประสานท่อที่มีความเข้มข้นสูง ทนต่อแรงดันของระบบท่อน้ำ และมีความสามารถในการป้องกันความร้อนจากอุณหภูมิน้ำในอ่างได้อย่างมีประสิทธิภาพ

🔴 ไม่ยุ่งยาก ในการบำรุง-ซ่อมแซม 🔴
การดีไซน์อ่างน้ำร้อน ด้วยการติดตั้งผนังไม้เทียมเข้าที่รอบอ่าง สามารถทำการเปิด - ปิด เพื่อการแก้ไข หรือ ซ่อมแซม เมื่อถึงเวลาที่ต้องเปลี่ยนอุปกรณ์บางชิ้นของอ่างน้ำร้อน ทีมงาน Q&G สามารถเข้าเปลี่ยนอะไหล่ หรือ อุปกรณ์ส่วนที่จำเป็นต้องได้รับการดูแล - แก้ไข ภายใต้ท้องอ่างให้กับท่านได้ทันที ทำให้ได้รับการแก้ไขที่รวดเร็วขึ้น เมื่อติดตั้งตามหลักที่ถูกวิธีของ Q&G 
Q&G หวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความนี้จะช่วยให้คุณจำแนกความแตกต่าง และ เข้าใจถึงการใช้งาน ระหว่าง อ่างอาบน้ำ และ อ่างน้ำร้อน ได้มากขึ้น ไม่มากก็น้อย ขอขอบคุณทุกท่าน ที่ให้ความสนใจการใช้งานอ่างน้ำร้อน ขอให้ผู้อ่านมีสุขภาพกาย - ใจ ที่แข็งแรงกันทุกคนเลยนะครับ 🙇🙏
ข้อมูลโดย ห้างหุ้นส่วนจำกัด คิวแอนด์จี
โทร.087-816-6383
เลือกซื้ออ่างน้ำร้อนแบบ Outdoor ได้แล้วที่
QandGTub.com
By Q&G 23 Apr, 2024
  ในบทความนี้ทางคิวแอนด์จี จะนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับอ่างน้ำร้อน ( Hot Tub ) ที่นอกจากจะให้ประโยชน์ด้านความเป็นส่วนตัวได้หลากหลายแง่มุมแล้ว สามารถเป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งสำหรับการพักผ่อนบริเวณภายนอกบ้าน สามารถยกระดับในด้านความความสุขความผ่อนคลาย จากคุณสมับติการทำงานของอ่างน้ำร้อน รวมไปถึงเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมให้ได้ใช้เวลาร่วมกับสมาชิกภายในครอบครัว  ซึ่งอ่างน้ำร้อนยังสามารถให้ประโยชน์ในเชิงสุขภาพและการบำบัดปัญหาต่าง ๆ ด้านร่างกายได้อีกด้วย
 
  การลงแช่ตัวในอ่างน้ำร้อน สามารถสร้างคุณประโยชน์ต่อด้านร่างกายได้หลากหลาย โดยการนำไปประยุกต์ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ในการฟื้นฟู การบำบัด การบรรเทาอาการเจ็บปวด และ ปัญหาด้านสุขภาพได้ตามศาสตร์ของธาราบำบัด การแช่ตัวในอ่างน้ำร้อน สามารถส่งผลให้เกิดประโยชน์ด้านสุขภาพ ได้จาก 3 ปัจจัยหลัก ดังต่อไปนี้

  1. ระบบนวดเจ็ท ( Hydrotherapy Jets Massage )
  2. อุณหภูมิของน้ำอุ่น ( Warm Water ) อุณหภูมิความร้อน 35 - 40 องศาเซลเซียส
  3. คุณประโยชน์จากแรงพยุงตัวของน้ำ ( Buoyancy )
By Q&G 19 Apr, 2024
  ในบทความนี้ทางคิวแอนด์จี จะนำเสนอแง่มุมข้อดีของการเป็นเจ้าของอ่างน้ำร้อน เพื่ออธิบายเพิ่มเติม ถึงความจำเป็นของประเภทสินค้า ที่กำลังกลายเป็นส่วนหนึ่งขององค์ประกอบให้กับบ้าน สำหรับผู้คนจากหลากหลายประเทศทั่วโลก โดยมีการตอบรับที่สะท้อนให้เห็นถึงกระแสความต้องการ จนทำให้อุตสาหกรรมการผลิตอ่างน้ำร้อนเติบโตในวงกว้าง ซึ่งนอกจากจะเป็นประโยชน์โดยตรงเฉพาะส่วนบุคคลแล้ว ยังสามารถให้ผลดีต่อเนื่องแก่สังคมครอบครัว เครือข่ายความสัมพันธ์ของผู้คนใกล้ตัวได้อีกด้วย
By Q&G 08 Apr, 2024

  ในบทความนี้ทางคิวแอนด์จี จะมานำเสนอแง่มุมคุณประโยชน์ของการเป็นเจ้าของอ่างน้ำร้อน เพื่อใช้สำหรับการแช่น้ำอุ่นบริเวณพื้นที่ภายนอกบ้าน ที่จะส่งผลให้ข้อดีต่อความเป็นส่วนตัวของลูกค้า ( Privacy ) เพื่อตอบโจทย์วิถีชีวิต การเพิ่มระดับคุณภาพชีวิต การให้คุณค่าของความสุขอันพิเศษเฉพาะตน ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ที่บ้าน อันเป็นสถานที่ให้ความรู้สึกสบายใจได้ทุก ๆ วัน


เพื่อความผ่อนคลาย แบบส่วนตัว


  คุณประโยชน์ของการเป็นเจ้าของอ่างน้ำร้อนภายนอกบ้าน คือ การสร้างพื้นที่ในการพักผ่อนแบบส่วนตัว โดยลูกค้าสามารถผ่อนคลายไปกับการแช่น้ำที่บ้าน โดยไม่ต้องพบปะคลุกคลีกับบุคคลอื่นที่เราไม่ได้รู้จัก การผ่อนคลายในสถานที่ส่วนตัว เป็น  ความสุข ด้วยการหลีกออกจากสังคมภายนอก ต่างไปจากการใช้บริการในสถานดูแลสุขภาพ เช่น ส่วนกลางสปาของโรงแรม รีสอร์ท บ่อน้ำอุ่นแบบรวม ศูนย์ธาราบำบัด บ่อน้ำแร่ออนเซ็น เป็นต้น


Show More
Share by: