ค่าไฟฟ้าของอ่างน้ำร้อน Outdoor

  • By Q&G
  • 18 ก.ย., 2564

อ่างน้ำกลางแจ้งที่มีระบบทำน้ำอุ่นในตัว  พร้อม ระบบนวดเจ็ท ระบบกรองน้ำ จะกินไฟเดือนละกี่บาท 

การเลือกซื้ออ่างน้ำร้อนลูกค้าหลายท่านส่วนใหญ่ จะมีคำถามข้อสงสัยเกี่ยวกับค่าไฟฟ้าที่จะต้องจ่ายในแต่ละเดือน เพราะอาจมีความกังวลว่าจะเป็นสิ่งที่ส่งผลกระทบในระยะยาวเมื่อติดตั้งอ่างน้ำร้อนไปแล้ว เรื่องอัตราค่าไฟฟ้าของอ่างน้ำร้อน Outdoor ที่จำหน่ายติดตั้งในประเทศไทยนั้น จะมีอัตราค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับลูกค้าที่ซื้ออ่างน้ำร้อนอาศัยอยู่ในประเทศเมืองหนาวอย่างในทวีปยุโรป อเมริกา เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนของบ้านเรา ไม่มีความเย็นจัดเหมือนกับต่างประเทศ

ลูกค้าที่เป็นเจ้าของอ่างน้ำร้อนในประเทศที่มีฤดูหิมะตก จำเป็นต้องยกเรื่องประเด็นเรื่องค่าไฟฟ้าขึ้นมาคิดพิจารณาเป็นสำคัญ เพราะสภาพอากาศที่หนาวเย็นมีอุณหภูมิที่ต่ำมาก จะส่งผลใ้ห้มีการเปลี่ยนแปลงของน้ำอุ่นในอ่างที่ลดลงตลอดเวลา ซึ่งระบบทำความร้อนก็จะทำงานบ่อยขึ้น ทำให้ลูกค้าในต่างประเทศจะมีค่าใช้จ่ายด้านค่าไฟฟ้าที่สูงขึ้นตามไปด้วย

สำหรับการคำนวณเรื่องอัตราค่าไฟฟ้าของลูกค้าที่ซื้ออ่างน้ำร้อน Outdoor ในประเทศไทย ทางคิวแอนด์จี จะยกตัวอย่างการคำนวณตามความถี่ในการใช้งานอ่างน้ำร้อนและธรรมชาติการทำงานของระบบ ซึ่งข้อมูลต่อไปนี้เป็นการจำลองสถานการณ์การลงแช่น้ำในอ่าง การเปิดใช้งาน 3 กลุ่ม คือ

1. ลูกค้าที่ใช้อ่างน้ำร้อนเป็นประจำทุกวัน หรือ 7 วันต่อสัปดาห์
2. ลูกค้าที่ใช้อ่างน้ำร้อนแบบทั่วไป หรือ 5 วันต่อสัปดาห์
3. ลูกค้าที่ใช้อ่างน้ำร้อนน้อย หรือ 3 วันต่อสัปดาห์
การจำลองสถานการณ์ทั้ง 3 กรณีนั้น เพื่อให้ลูกค้าได้เลือกประกอบการตัดสินใจ ได้รับข้อมูลของค่าจ่ายด้านใช้ไฟฟ้าก่อนการตัดสินใจเลือกซื้ออ่างน้ำร้อน Outdoor  ที่ทางคิวแอนด์จีจัดจำหน่าย ซึ่งค่าไฟฟ้าจะแปรผันตามจุดประสงค์ของการใช้งาน ความชื่นชอบในการลงอ่าง ความบ่อยครั้งที่ลูกค้าคาดว่าจะใช้อ่างน้ำร้อน ทั้งนี้วัตถุประสงค์การใช้งานแต่ละคนอาจจะมีความแตกต่างกัน เช่น ต้องการซื้ออ่างน้ำร้อนไปเพื่อดูแลสุขภาพ ต้องการซื้ออ่างน้ำร้อนเพื่อความผ่อนคลาย เป็นสถานที่พักผ่อนร่วมกับครอบครัว ต้องการซื้ออ่างน้ำร้อนเพื่อใช้เป็นสถานที่ในการจัดปาร์ตี้ เป็นมุมแห่งความบันเทิงของบ้าน เป็นต้น

การคำนวณค่าใช้ดังต่อไปนี้ คำนวณจากระบบการทำงานของอ่างน้ำร้อน รุ่น Frey ( เฟรย์ ) ซึ่งเป็นอ่างขนาดที่ลูกค้าส่วนใหญ่นิยมซื้อสำหรับบ้านและครอบครัว โดยเป็นอ่างที่มีปริมาณน้ำในอ่าง 1,350 ลิตร มีขนาดอ่างความยาว 2.2 เมตร กว้าง 2.2 เมตร โดยมีอุปกรณ์หลักที่นำมาใช้คำนวณเรื่องค่าไฟ ดังนี้

1. ฮีตเตอร์ทำความร้อนของอ่าง มีขนาด 3,000 วัตต์
2. ปั๊มหมุนเวียนน้ำขนาด 250 วัตต์ ทำงานร่วมกับฮีตเตอร์ ทำหน้าที่ในการดึงน้ำเข้าสู่ระบบทำความร้อน
3. ปั๊มน้ำของระบบนวดเจ็ท ขนาด 3 จำนวน 2 ตัว แรงม้า ใช้กำลังไฟฟ้าตัวละ 2,200 วัตต์

ภาพชุดควบคุมระบบฮีตเตอร์ทำความร้อนและแผงวงจรจากอเมริกา
1. อัตราค่าไฟฟ้ากรณีลูกค้าแช่น้ำในอ่างประจำทุกวัน - 7 วันต่อสัปดาห์

การทำงานของฮีตเตอร์ทำความร้อนและปั๊มหมุนเวียนน้ำ
- ระบบทำความร้อนทำงาน 1 ชั่วโมง ต่อ 1 วัน เพื่อรักษาอุณหภุมิน้ำให้คงที่ 24 ชั่วโมง
- ระบบทำความร้อนและปั๊มหมุนเวียนน้ำใช้กำลังไฟ 3,250 วัตต์ ต่อชั่วโมง โดยมีการใช้ไฟฟ้าอยู่ที่ 3.25 ยูนิตต่อวัน
- ระบบทำความร้อนของอ่างน้ำจะใช้พลังงานไฟฟ้า 97.5 ยูนิต ต่อ เดือน

การทำงานของปั๊มนวดเจ็ท  จำนวน 2 ตัว โดยคำนวณจากการเปิดใช้งานพร้อมกันทั้ง 2 ตัว 
- เปิดระบบนวดในอ่างใช้งาน 1 ชั่วโมง ต่อ 1 วัน
- ใช้กำลังไฟ 4,400 วัตต์ โดยมีการใช้ไฟฟ้าอยู่ที่ 4.4 ยูนิต ต่อ วัน
- ระบบนวดในอ่างน้ำร้อนจะใช้พลังงานไฟฟ้า 132 ยูนิต ต่อ เดือน

การทำงานของระบบกรองน้ำ
- เปิดใช้งานปั๊มหมุนเวียนน้ำ เพื่อดึงน้ำเข้าสู่ระบบกรอง 6 ชั่วโมงต่อวัน
- ใช้กำลังไฟ 250 วัตต์ ต่อชั่วโมงโดยมีการใช้ไฟฟ้าอยู่ที่1.5 ยูนิตต่อวัน
- 1 เดือนจะใช้พลังงานไฟฟ้า 45 ยูนิต ต่อ เดือน
ค่าไฟฟ้าจากระบบทำความร้อนเพิ่มเติม

เมื่อลูกค้าทำการเปลี่ยนถ่ายน้ำใหม่ ฮีตเตอร์จะใช้เวลาในการทำน้ำอุ่น จากอุณหภูมิน้ำประปาที่เติมลงไปใหม่ เช่น เริ่มต้นเติมอุณหภูมิน้ำประปาที่ 30 องศาลงไปในอ่าง แล้วสั่งงานให้ระบบฮีตเตอร์ทำความร้อนไปถึง 40 องศา จะใช้เวลา 5 ชั่วโมง เป็นต้น การทำความร้อนจะทำแค่ครั้งแรกที่มีการเติมใหม่เท่านั้น โดยสมมุติให้ลูกค้าเปลี่ยนน้ำ 1 เดือนครั้ง ซึ่งในการใช้งานโดยปกติแล้ว ลูกค้าสามารถใช้น้ำเดิมโดยไม่ต้องเปลี่ยน 3 เดือน

- ระบบทำความร้อนทำงาน 5 ชั่วโมง เพื่อสร้างอุณหภูมิน้ำจากการเปลี่ยนน้ำใหม่
- ใช้กำลังไฟ 3,250 วัตต์โดยมีการใช้ไฟฟ้าอยู่ที่16.25 ยูนิต ต่อ เดือน

ใน 1 เดือน อ่างน้ำร้อนจะมีอัตราการใช้ไฟฟ้ารวมอยู่ที่ 290.75 ยูนิต เมื่อคำนวณค่าไฟฟ้าต่อยูนิตที่ 4.5 บาท ซึ่งเป็นอัตราค่าไฟฟ้าแบบก้าวหน้าสูงสุด ลูกค้าจะเสียค่าไฟฟ้า 1,308.37 บาท ต่อเดือน

ตัวอย่างในการใช้งานอ่างน้ำร้อนของลูกค้าข้างต้น ประเมินสถานการณ์ว่า ใน 1 วัน ลูกค้าลงอ่างน้ำร้อน เปิดใช้งานระบบนวด 1 ชั่วโมง ซึ่งในอ่างน้ำจะมีอุณหภูมิคงที่ 24 ชั่วโมง ที่ความร้อน 40 องศา

ในกรณีที่ลูกค้าไปแช่น้ำเป็น 1 ชั่วโมง มีการเปิดใช้งานระบบนวด จะทำให้อุณหภูมิในอ่างลดลง 1 องศา ดังนั้นระบบทำความร้อน จะคำนวณว่ามีการทำงานวันละ 1 ชั่วโมง เพื่อรักษาอุณหภูมิให้คงที่ตลอดเวลา
2. อัตราค่าไฟฟ้า กรณีลูกค้าใช้อ่างน้ำร้อนแบบทั่วไป - 5 วันต่อสัปดาห์

การทำงานของปั๊มนวดเจ็ท จำนวน 2 ตัว
- เปิดระบบนวดในอ่างใช้งาน 1 ชั่วโมง ต่อ 1 วัน
- ใช้กำลังไฟ 4,400 วัตต์โดยมีการใช้ไฟฟ้าอยู่ที่4.4 ยูนิต ต่อ วัน มีการใช้งานระบบนวด 5 วัน ต่อสัปดาห์
- ระบบนวดของอ่างน้ำร้อนจะใช้พลังงานไฟฟ้า 88 ยูนิต ต่อ เดือน

การทำงานของฮีตเตอร์ทำความร้อนและปั๊มหมุนเวียนน้ำ
- ระบบทำความร้อนทำงาน 1 ชั่วโมง ต่อ 1 วัน เพื่อรักษาอุณหภุมิน้ำให้คงที่ 24 ชั่วโมง
- ระบบทำความร้อนและปั๊มหมุนเวียนน้ำใช้กำลังไฟ 3,250 วัตต์ ต่อชั่วโมง โดยมีการใช้ไฟฟ้าอยู่ที่3.25 ยูนิต ต่อ วัน
- ระบบทำความร้อนของอ่างน้ำจะใช้พลังงานไฟฟ้า 97.5 ยูนิต ต่อ เดือน

การทำงานของระบบกรองน้ำ
- เปิดใช้งานปั๊มหมุนเวียนน้ำ เพื่อดึงน้ำเข้าสู่ระบบกรอง 6 ชั่วโมงต่อวัน
- ใช้กำลังไฟ 250 วัตต์ ต่อชั่วโมงโดยมีการใช้ไฟฟ้าอยู่ที่1.5 ยูนิตต่อวัน
- ระบบกรองน้ำของอ่างน้ำร้อนจะใช้พลังงานไฟฟ้า 45 ยูนิต ต่อ เดือน

การทำงานของระบบทำความร้อนเพิ่มเติม เมื่อเปลี่ยนถ่ายน้ำใหม่
- ระบบทำความร้อนทำงาน 5 ชั่วโมง
- ใช้กำลังไฟ 3,250 วัตต์ โดยคิดเป็น 16.25 ยูนิต ต่อ เดือน 
การจำลองสถานการณ์การใช้งานเพื่อคำนวณค่าไฟฟ้า ในกลุ่มลูกค้าที่ใช้อ่างน้ำร้อนแบบทั่วไป หรือ มีการลงใช้อ่างเปิดระบบนวดวันละ 1 ชั่วโมง 5 วันต่อสัปดาห์ พบว่าใน 1 เดือน อ่างน้ำร้อนจะมีอัตราการใช้ไฟฟ้าอยู่ที่ 202.75 ยูนิต เมื่อคำนวณค่าไฟฟ้าต่อยูนิตที่ 4.5 บาท ลูกค้าจะเสียค่าไฟฟ้า 1,100.37 บาท ต่อเดือน
3. ลูกค้าที่ใช้อ่างน้ำร้อนน้อย หรือ 3 วันต่อสัปดาห์

การทำงานของปั๊มนวดเจ็ท จำนวน 2 ตัว
-  เปิดระบบนวดในอ่างใช้งาน 1 ชั่วโมง ต่อ 1 วัน
- ใช้กำลังไฟ 4,400 วัตต์โดยมีการใช้ไฟฟ้าอยู่ที่4.4 ยูนิต ต่อ วัน มีการใช้งานระบบนวด 3 วัน ต่อสัปดาห์
- 1 เดือนจะใช้พลังงานไฟฟ้า 52.8 ยูนิต ต่อ เดือน

การทำงานของฮีตเตอร์ทำความร้อนและปั๊มหมุนเวียนน้ำ
- ระบบทำความร้อนทำงาน 1 ชั่วโมง ต่อ 1 วัน เพื่อรักษาอุณหภุมิน้ำให้คงที่ 24 ชั่วโมง
- ระบบทำความร้อนและปั๊มหมุนเวียนน้ำใช้กำลังไฟ 3,250 วัตต์ ต่อชั่วโมง โดยมีการใช้ไฟฟ้าอยู่ที่3.25 ยูนิตต่อวัน
- ระบบทำความร้อนของอ่างน้ำจะใช้พลังงานไฟฟ้า 97.5 ยูนิต ต่อ เดือน

การทำงานของระบบกรองน้ำ
- เปิดใช้งานปั๊มหมุนเวียนน้ำ เพื่อดึงน้ำเข้าสู่ระบบกรอง 6 ชั่วโมงต่อวัน
- ใช้กำลังไฟ 250 วัตต์ ต่อชั่วโมงโดยมีการใช้ไฟฟ้าอยู่ที่1.5 ยูนิตต่อวัน
- 1 เดือนจะใช้พลังงานไฟฟ้า 45 ยูนิต ต่อ เดือน

การทำงานของระบบทำความร้อนเพิ่มเติม เมื่อเปลี่ยนถ่ายน้ำใหม่
- ระบบทำความร้อนทำงาน 5 ชั่วโมง
- ใช้กำลังไฟ 3,250 วัตต์ โดยคิดเป็น 16.25 ยูนิต ต่อเดือน

สำหรับอัตราค่าไฟฟ้า ในกลุ่มลูกค้าที่ใช้งานอ่างน้ำร้อนน้อย มีการเปิดใช้งานระบบนวด 1 ชั่วโมงต่อวัน และมีการใช้อ่างน้ำร้อน 3 วัน ต่อสัปดาห์ จะมีการไฟฟ้าอยู่ที่ 211.55 ยูนิต ต่อ เดือน เมื่อคำนวนอัตราค่าไฟฟ้าที่หน่วยละ 4.5 บาท ลูกค้าในกลุ่มนี้จะเสียค่าไฟ้าที่ 951.97 บาทต่อเดือน
การคำนวณอัตราค่าไฟฟ้าจากกลุ่มลูกค้าที่ใช้อ่างน้ำร้อนน้อยนั้น จะเป็นการคำนวณสำหรับลูกค้าที่ไม่ค่อยมีเวลาในการพักผ่อน มีธุระกิจการงานมาก เป็นกลุ่มที่มีเวลาในช่วงวันหยุด ศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ ที่จะผ่อนคลายแช่น้ำร้อนไปกับระบบนวดเจ็ทในอ่าง โดยจะคำนวณว่า ในช่วงวันหยุดจะใช้เวลาในการลงอ่าง มีการเปิดใช้งานระบบนวด 1 ชั่วโมง และมีการตั้งความร้อนที่อุณหภูมิสูงสุดที่ 40 องศา

การคำวนณในด้านของระบบทำความร้อน ที่ผู้ผลิตได้ออกแบบมาให้น้ำในอ่างมีอุณหภูมิคงที่ 24 ชั่วโมง นั้น เป็นการเปิดให้มีไฟฟ้าอยู่ในอ่างตลอด แต่ในความเป็นจริงแล้วระบบทำความร้อนไม่ได้ทำงานติดต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง การใช้งานอ่างน้ำร้อนจะแนะนำให้ลูกค้าปิดฝาหากไม่ได้มีการลงอ่าง จากการทดสอบพบว่า หากไม่ได้เปิดฝาอ่างระหว่างวันอ่างน้ำร้อนจะมีการทำงานของฮีตเตอร์ ประมาณ 30 นาที ต่อวัน ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศความเย็นจากภายนอก

เมื่อระบบพบว่ามีอุณหภูมิน้ำลดลง 0.5 องศา ฮีตเตอร์จะกลับมาทำงาน การทำงานของฮีตเตอร์เป็นเวลา 15 นาที สามารถสร้างอุณหภูมิน้ำอุ่นให้เพิ่มขึ้นได้ 0.5 องศา โดยสรุป คือ ในหนึ่งวันน้ำในอ่างจะมีอุณหภูมิตกลงประมาณ 2 ครั้ง ครั้งละ 0.5 องศา เท่านั้น เนื่องจากฝาปิดอ่างน้ำร้อนเป็นฉนวนเก็บอุณหภูมิในตัว และใต้ท้องอ่างมีการติดตั้งฉนวนเก็บความร้อนด้วย ฉนวนเก็บอุณหภูมิของอ่างน้ำนั้นช่วยลดการทำงานของฮีตเตอร์ได้เป็นอย่างดี
อัตราค่าไฟฟ้าจากตัวอย่างทั้ง 3 กลุ่ม คือ

1. อัตราค่าไฟฟ้ากรณีลูกค้าแช่น้ำในอ่างประจำ - 7 วันต่อสัปดาห์
    ลูกค้าจะเสียค่าไฟฟ้า 1,308 บาท ต่อเดือน

2. อัตราค่าไฟฟ้า กรณีลูกค้าใช้อ่างน้ำร้อนแบบทั่วไป - 5 วันต่อสัปดาห์
    ลูกค้าจะเสียค่าไฟฟ้า 1,100 บาท ต่อเดือน

3. ลูกค้าที่ใช้อ่างน้ำร้อนน้อย หรือ 3 วันต่อสัปดาห์
    ลูกค้าจะเสียค่าไฟฟ้า 951 บาท ต่อเดือน
ลูกค้าสามารถที่จะใช้ข้อมูลข้างต้นเป็นบรรทัดฐานในการคำนวณของอ่างน้ำร้อนรุ่นอื่นที่มีขนาดใหญ่กว่า และ อ่างน้ำร้อนที่มีขนาดเล็กกว่า มีจำนวนปั๊มน้ำ รวมไปถึงขนาดปั๊มน้ำที่ต่างกันได้ โดยการประเมินร่วมกับความบ่อยครั้งในการใช้งานระบบนวดของอ่างน้ำร้อน ให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าที่จะใช้อ่างน้ำ

ในการคำนวณข้างต้น เป็นการคำนวณกรณีที่มีน้ำร้อนคงที่ 24 ชั่วโมง เพื่อสร้างความสะดวกให้ลูกค้า มีน้ำอุ่นพร้อมใช้งานตลอดเวลา ไม่ว่าลูกค้าจะเลือกลงอ่างตอนเช้า เย็น หัวค่ำ ก็ไม่ต้องมาเสียเวลารอระบบทำความร้อนในอ่าง ซึ่งการเลือกเปิดใช้อุณหภูมิความร้อนของน้ำในอ่างก็สามารถส่งผลต่อค่าไฟให้น้อยลงได้ เช่น กรณีที่ลูกค้าตั้งความร้อนที่ 35 องศา ตลอดทั้งเดือน จะมีอัตราค่าไฟฟ้าที่น้อยกว่า การเปิดใช้งานอ่างน้ำร้อนให้มีอุณหภูมิที่ 40 องศา ตามตัวอย่างข้างต้นทั้งหมด

การคำนวณกรณีที่ลูกค้าใช้อ่างน้ำร้อนบ่อยเป็นประจำทุกวันแบบ 7 วัน ต่อสัปดาห์นั้น จะเป็นกลุ่มลูกค้าที่ซื้ออ่างไปใช้เพื่อฟื้นฟูสุขภาพ บำบัดบรรเทาอาการปวด หรือใช้ในการเสริมสร้างสุขภาพด้วยวิถีแห่งธาราบำบัด ซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่อาจจะไม่ได้ลงแช่น้ำทุกวัน ไม่ได้มีการเปิดใช้ระบบนวดนานถึง 1 ชั่วโมง เพราะหากเปิดใช้งานระบบนวดนาน จะทำให้ลูกค้ารู้สึกเจ็บกล้ามเนื้อและผิวหนังได้ ซึ่งในการใช้งานที่มีการเปิดระบบนวดเจ็ทที่น้อยกว่าอย่างข้างต้น เช่น มีการลงอ่างเปิดระบบจากุซซี่วันละ 30 นาทีต่อวัน ก็ส่งผลให้มีอัตราค่าไฟฟ้าที่น้อยลงได้เช่นเดียวกัน
ในกรณีที่ลูกค้ามีการใช้งานอ่างน้ำร้อนนานกว่า 1 ชั่วโมงต่อครั้ง เช่น มีการลงใช้อ่างและเปิดระบบนวด 2 - 3 ชั่วโมงต่อวัน อัตราค่าไฟฟ้าก็จะเพิ่มขึ้นไปตามความถี่ของการเปิดปั๊มของระบบนวดในอ่างน้ำร้อน ซึ่งหากลูกค้ามีการเปิดฝาอ่างน้ำร้อนทิ้งไว้ ไม่ปิดฝา จะส่งผลให้มีอัตราค่าไฟสูงขึ้นมากกว่าตัวอย่างที่แสดงให้เห็นไว้ข้างต้น เนื่องจากเมื่อมีการเปิดฝาทิ้งไว้ อุณหภูมิน้ำในอ่างก็จะคลายตัว และ ทำให้ระบบฮีตเตอร์ทำงานบ่อยขึ้น

ลูกค้าหลายคนจะมีคำถามว่า หากไม่ตั้งอุณหภูมิน้ำอุ่น ให้มีความร้อนคงที่ไว้ 24 ชั่วโมง จะมีทำให้ช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าได้มากกว่า การตั้งให้ระบบทำงานตามคำแนะนำของคิวแอนด์จีหรือไม่ เรามาลองคำนวณกันดูครับ

จะเป็นการคำนวณในกลุ่มลูกค้าที่ใช้งานน้อย หรือ 3 วันต่อสัปดาห์ ซึ่งทุกวัน ก่อนที่ลูกค้าจะลงอ่างต้องมาตั้งน้ำอุ่น ซึ่งจำลองเริ่มให้ระบบทำความร้อนที่อุณหภูมิน้ำ 30 องศา แล้วตั้งค่าความร้อนให้ถึง 40 องศา ระบบฮีตเตอร์จะทำงานเป็นเวลา 5 ชั่วโมง เพื่อเปรียบเทียบให้เห็นกับค่าไฟที่คำนวณไว้ก่อนหน้านี้

การทำงานของระบบทำความร้อน เมื่อมีการตั้งน้ำอุ่นใหม่ทุกวัน
- ระบบทำความร้อนทำงาน 5 ชั่วโมง ต่อวัน
- ใช้กำลังไฟ 3,250 วัตต์
- ใช้งานอ่างน้ำเป็นเวลา 3 วัน ต่อสัปดาห์ จะต้องมีการตั้งค่า ระบบทำน้ำอุ่น ทั้งหมด 60 ชั่วโมง ต่อเดือน
- จะมีอัตราการกินไฟฟ้าอยู่ที่ 195 ยูนิต ต่อ เดือน มีค่าไฟฟ้าที่ลูกค้าต้องจ่าย เดือนละ 877.5 บาท

อัตราค่าไฟฟ้าเฉพาะระบบทำความร้อนอย่างเดียว โดยไม่ได้คำนวณค่าไฟจากการเปิดใช้งานระบบนวด และ ระบบการกรองน้ำ ลูกค้าจะต้องเสียค่าไฟถึง 877 บาท ต่อ เดือน เมื่อเปรียบเทียบกับค่าไฟฟ้าของระบบทำความร้อนที่มีการตั้งค่าให้ระบบทำงานตามคำแนะนำของทางคิวแอนด์จีนั้น ลูกค้าจะเสียค่าไฟฟ้าเพียงเดือนละ 511 บาท ต่อ เดือนเท่านั้น

ดังนั้นการตั้งอ่างน้ำร้อน Outdoor มีอุณหภูมิคงที่ 24 ชั่วโมง มีการทำงานตามระบบที่ได้ออกมาแบบมาจากทางผู้ผลิต จะเป็นวิธีการใช้งานที่จะช่วยประหยัดอัตราค่าไฟฟ้าได้มากกว่า การตั้งน้ำอุ่นก่อนที่ลูกค้าจะลงอ่างทุกครั้ง หรือ การไม่เปิดระบบทำน้ำร้อนทิ้งไว้ ซึ่งการใช้ระบบทำความร้อนในอ่างโดยไม่ตั้งอุณหภูมิให้คงที่ล่วงหน้าไว้นั้น ยังสร้างความไม่สะดวกสบายให้กับลูกค้าในการลงอ่างอีกด้วย เพราะลูกค้าต้องมาเสียเวลาในการรอน้ำอุ่นในอ่าง หรือ ตั้งมาค่าการทำงานล่วงหน้า ก่อนการลงอ่างทุกครั้ง
ข้อมูลเรื่องอัตราค่าไฟฟ้าของอ่างน้ำร้อน Outdoor  โดย ห้างหุ้นส่วนจำกัดคิวแอนด์จี
สามารถติดตามเลือกซื้อ อ่างน้ำภายนอกบ้านได้แล้ววันที่ 
QandGTub.com 
โทร. 087-816-6383
By Q&G 23 Apr, 2024
  ในบทความนี้ทางคิวแอนด์จี จะนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับอ่างน้ำร้อน ( Hot Tub ) ที่นอกจากจะให้ประโยชน์ด้านความเป็นส่วนตัวได้หลากหลายแง่มุมแล้ว สามารถเป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งสำหรับการพักผ่อนบริเวณภายนอกบ้าน สามารถยกระดับในด้านความความสุขความผ่อนคลาย จากคุณสมับติการทำงานของอ่างน้ำร้อน รวมไปถึงเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมให้ได้ใช้เวลาร่วมกับสมาชิกภายในครอบครัว  ซึ่งอ่างน้ำร้อนยังสามารถให้ประโยชน์ในเชิงสุขภาพและการบำบัดปัญหาต่าง ๆ ด้านร่างกายได้อีกด้วย
 
  การลงแช่ตัวในอ่างน้ำร้อน สามารถสร้างคุณประโยชน์ต่อด้านร่างกายได้หลากหลาย โดยการนำไปประยุกต์ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ในการฟื้นฟู การบำบัด การบรรเทาอาการเจ็บปวด และ ปัญหาด้านสุขภาพได้ตามศาสตร์ของธาราบำบัด การแช่ตัวในอ่างน้ำร้อน สามารถส่งผลให้เกิดประโยชน์ด้านสุขภาพ ได้จาก 3 ปัจจัยหลัก ดังต่อไปนี้

  1. ระบบนวดเจ็ท ( Hydrotherapy Jets Massage )
  2. อุณหภูมิของน้ำอุ่น ( Warm Water ) อุณหภูมิความร้อน 35 - 40 องศาเซลเซียส
  3. คุณประโยชน์จากแรงพยุงตัวของน้ำ ( Buoyancy )
By Q&G 19 Apr, 2024
  ในบทความนี้ทางคิวแอนด์จี จะนำเสนอแง่มุมข้อดีของการเป็นเจ้าของอ่างน้ำร้อน เพื่ออธิบายเพิ่มเติม ถึงความจำเป็นของประเภทสินค้า ที่กำลังกลายเป็นส่วนหนึ่งขององค์ประกอบให้กับบ้าน สำหรับผู้คนจากหลากหลายประเทศทั่วโลก โดยมีการตอบรับที่สะท้อนให้เห็นถึงกระแสความต้องการ จนทำให้อุตสาหกรรมการผลิตอ่างน้ำร้อนเติบโตในวงกว้าง ซึ่งนอกจากจะเป็นประโยชน์โดยตรงเฉพาะส่วนบุคคลแล้ว ยังสามารถให้ผลดีต่อเนื่องแก่สังคมครอบครัว เครือข่ายความสัมพันธ์ของผู้คนใกล้ตัวได้อีกด้วย
By Q&G 08 Apr, 2024

  ในบทความนี้ทางคิวแอนด์จี จะมานำเสนอแง่มุมคุณประโยชน์ของการเป็นเจ้าของอ่างน้ำร้อน เพื่อใช้สำหรับการแช่น้ำอุ่นบริเวณพื้นที่ภายนอกบ้าน ที่จะส่งผลให้ข้อดีต่อความเป็นส่วนตัวของลูกค้า ( Privacy ) เพื่อตอบโจทย์วิถีชีวิต การเพิ่มระดับคุณภาพชีวิต การให้คุณค่าของความสุขอันพิเศษเฉพาะตน ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ที่บ้าน อันเป็นสถานที่ให้ความรู้สึกสบายใจได้ทุก ๆ วัน


เพื่อความผ่อนคลาย แบบส่วนตัว


  คุณประโยชน์ของการเป็นเจ้าของอ่างน้ำร้อนภายนอกบ้าน คือ การสร้างพื้นที่ในการพักผ่อนแบบส่วนตัว โดยลูกค้าสามารถผ่อนคลายไปกับการแช่น้ำที่บ้าน โดยไม่ต้องพบปะคลุกคลีกับบุคคลอื่นที่เราไม่ได้รู้จัก การผ่อนคลายในสถานที่ส่วนตัว เป็น  ความสุข ด้วยการหลีกออกจากสังคมภายนอก ต่างไปจากการใช้บริการในสถานดูแลสุขภาพ เช่น ส่วนกลางสปาของโรงแรม รีสอร์ท บ่อน้ำอุ่นแบบรวม ศูนย์ธาราบำบัด บ่อน้ำแร่ออนเซ็น เป็นต้น


Show More
Share by: