ระบบโอโซนของอ่างน้ำร้อน Outdoor

  • โดย Q&G
  • 31 ส.ค., 2565

ระบบโอโซนคืออะไร มีหน้าที่การทำงานและมีผลดีต่ออ่างน้ำร้อนอย่างไร 

ในบทความนี้ จะเป็นการให้ข้อมูลเรื่อง ระบบโอโซนของอ่างน้ำร้อน Outdoor  ที่ทางห้างหุ้นส่วนจำกัด คิวแอนด์จี จัดจำหน่าย

ระบบโอโซนไม่ได้เป็นเทคโนโลยีที่เพิ่งจะคิดค้นขึ้นมาใหม่ แต่เป็นระบบที่มีการใช้ติดตั้งอยู่ในอุตสาหกรรมสระว่ายน้ำและการบำบัดน้ำมากว่า 50 ปี มาแล้ว ระบบโอโซนเป็นหนึ่งในขั้นตอนกระบวนการบำบัดน้ำในอ่างน้ำร้อน เพื่อให้ลูกค้ามีน้ำในอ่างพร้อมใช้งานตลอดเวลา โดยลูกค้าสามารถใช้น้ำเดิมได้ โดยไม่ต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำทุกครั้งหลังใช้อ่างน้ำร้อนครับ เป็นเหมือนกับการมีระบบสระว่ายน้ำไว้ที่บ้าน เพียงแต่ว่าระบบโอโซนของอ่างน้ำร้อนเป็นระบบที่มีขนาดเล็กกว่าสระว่ายน้ำ ซึ่งออกแบบมาใช้สำหรับพอดีกับขนาดปริมาณน้ำในอ่าง
ระบบโอโซนเป็นระบบที่ติดตั้งอยู่ภายในตัวของอ่างน้ำร้อน Outdoor โอโซนไม่ได้อยู่ในรูปแบบของบรรจุภัณฑ์ อาทิ จำพวกขวด กระบอก กระป๋อง เป็นต้น โอโซนไม่ใช่ผลิตภัณฑ์สิ้นเปลืองที่ต้องซื้อใช้ต่อเนื่องเป็นประจำทุกเดือน ระบบโอโซนเป็นวิธีการฆ่าเชื้อโรคด้วยวิธีแบบธรรมชาติ โดยใช้อากาศที่เราหายใจเป็นสารตั้งต้นในการผลิตโอโซน โดยระบบโอโซนที่ทางคิวแอนด์จีจัดจำหน่ายเป็น โอโซนประเภท โคโรน่า ดิส ชาร์จ ( Corona Discharge ) ซึ่งเป็นระบบที่ผลิตโอโซนด้วยการใช้กระแสไฟฟ้าเป็นตัวทำการผลิต
หากเรามาดูที่โมเลกุลทางเคมี เมื่อระบบโอโซนถูกผลิตมาจากอากาศที่เราหายใจ คือ ออกซิเจน หรือ O2 ซึ่งหมายถึง ออกซิเจน 2 โมเลกุล เมื่อระบบดึงอากาศเข้าสู่กล่องผลิต ออกซิเจนจะถูกเปลี่ยนเป็น โอโซน หรือ O3 ซึ่งหมายถึง ออกซิเจน 3 โมเลกุล ด้วยการใช้สนามประจุอิเล็กตรอนที่มีกระแสไฟฟ้าแรงสูง ในการแยกออกซิเจนและสร้างโมเลกุลใหม่ให้กลายเป็นโอโซนที่อยู่ในรูปแบบของก็าซ เมื่อโอโซนทำงานภายในอ่างน้ำร้อนเสร็จเรียบร้อย จะสลายตัวกลับมาเป็นออกซิเจนตามเดิม
ผลข้างเคียงของการใช้งานระบบโอโซนในอ่างน้ำร้อน Outdoor

เรามาดูในแง่ผลข้างเคียงของระบบโอโซนกันนะครับ เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการฆ่าเชื้อโรคในน้ำด้วยวิธีอื่น ๆ จะพบว่าโอโซนเป็นระบบฆ่าเชื้อโรคที่มีความปลอดภัยสูง ไม่มีกลิ่นเหม็นทางเคมี ไม่ทำให้เกิดอาการคัน อาการแพ้ ตาแดง ไม่ทำให้ผิวหนังแห้ง ไม่มีสารตกค้าง ไม่ทำให้เส้นผมและเสียผ้าเปลี่ยนสี ไม่มีสารก่อมะเร็ง ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมโดยรอบอ่าง ไม่ส่งผลเสียต่ออุปกรณ์ส่วนประกอบภายในของอ่างน้ำร้อน อาทิ ระบบท่อน้ำ อุปกรณ์หัวนวดเจ็ท ระบบฮีทเตอร์ทำความร้อน ปั๊มพ์นวด เป็นต้น และไม่ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของค่า pH ในอ่างน้ำร้อน Outdoor อีกด้วย ลูกค้าจึงไม่ต้องมาปรับค่าเคมี ไม่ต้องใส่เคมีเพื่อรักษาสภาพความกลางของน้ำในอ่าง
อ่างน้ำร้อนที่มีการติดตั้งระบบโอโซน จะช่วยให้ลูกค้าดูแลน้ำในอ่างได้ง่ายมากขึ้น ไม่ต้องปวดหัว คิดคำนวณเรื่องการใช้เคมีในอ่างเพื่อการฆ่าเชื้อโรค และการรักษาระดับมาตรฐานของเคมมีในอ่าง ซึ่งจะทำให้ลูกค้ามีเวลาในการใช้งานอ่างน้ำร้อน มากกว่าที่จะต้องเสียเวลามาดูแลเรื่องการบำบัดน้ำ ลูกค้าไม่ต้องมาคอยแก้ไขปัญหา น้ำในอ่างที่เปลี่ยนแปลงสภาพไป เช่น ปัญหาน้ำขุ่น ปัญหาน้ำเขียว ปัญหาน้ำมีกลิ่นอับ มีกลิ่นเหม็นจากน้ำเสียในอ่าง เป็นต้น ระบบโอโซนสามารถที่จะป้องกันต้นเหตุของปัญหาน้ำเสียต่าง ๆ ได้อย่างดีเยี่ยม
ระบบโอโซนมีหน้าที่ในการทำงานอยู่ 4 ข้อ คือ

  1. การฆ่าเชื้อโรค
  2. การลดกลิ่นเหม็นของคลอรีน
  3. การทำให้ในอ่างใสสะอาด
  4. การเสริมจุดอ่อนของคลอรีน
หน้าที่ข้อแรก คือ ความสามารถของระบบโอโซนในการฆ่าเชื้อโรคในอ่างน้ำร้อน Outdoor

นั้นหมายถึง การทำลายไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กเหล่านี้จะเจริญเติบโต หลังจากมีการลงไปใช้อ่างน้ำร้อน ซึ่งเป็นสิ่งสกปรกที่มาจากร่างกายของตัวลูกค้า และ การขยายตัวเติบโตตามธรรมชาติของสิ่งปนเปื้อนที่อยู่ในน้ำ การฆ่าเชื้อโรคของระบบโอโซน มีประสิทธิภาพในการทำลายสิ่งปนเปื้อนได้รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อโรคที่สูงกว่า เมื่อเปรียบเทียบการฆ่าเชื้อโรคด้วยการใช้คลอรีนเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
หน้าที่ข้อที่สอง ของระบบโอโซน ในการลดกลิ่นเหม็นของคลอรีนให้น้อยลง

โดยโอโซนจะทำลายโมเลกุลทางเคมีของคลอรีนที่รวมตัวกับสิ่งปนเปื้อนต่าง ๆ ที่อยู่ในน้ำ ซึ่งการรวมตัวของคลอรีนและสิ่งปนเปื้อนนั้น เป็นสาเหตุของปัญหากลิ่นฉุนคลอรีน และยังเป็นปัจจัยที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพของลูกค้าอีกด้วย

หน้าที่ข้อที่สาม ของระบบโอโซน ในการทำให้น้ำในอ่างใสสะอาด อ่างน้ำร้อน Outdoor

ที่มีการติดตั้งระบบโอโซน จะมีสภาพน้ำที่ใสสะอาดได้มากกว่า อ่างที่ไม่ได้มีระบบโอโซน ซึ่งลูกค้าสามารถสังเกตุเห็นได้ด้วยตาเปล่า หากเปรียบเทียบระหว่างอ่างน้ำร้อนที่มีการติดตั้งระบบโอโซน จะพบว่าน้ำในอ่างมีลักษณะเป็นสีฟ้าอ่อน คล้ายสีครามตามแนวเกาะของท้องทะเล แต่สำหรับอ่างน้ำร้อน ที่มีการฆ่าเชื้อโรคด้วยคอลรีนเพียงอย่างเดียว จะมีสภาพน้ำที่ออกไปทางสีน้ำเงิน
หน้าที่ข้อที่ 4 ของระบบโอโซน ในการเสริมจุดอ่อนของคลอรีน

โดยหลักการแล้วเมื่อเราใส่คลอรีนลงไปในน้ำ ด้วยปริมาณ 1 ช้อน จะมีคลอรีนที่แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ

1. ส่วนที่หนึ่งจะทำหน้าที่ในการฆ่าเชื้อโรคทันที หรือ ที่เรียกว่า ฟรีคลอรีน เป็นชนิดของคลอรีนที่ดี ซึ่งนอกจากจะทำหน้าที่ฆ่าเชื้อโรคในน้ำ และ เผาเศษศากของสัตว์มีชีวิตขนาดเล็กได้ คลอรีนชนิดนี้จะเป็นคลอรีนที่ทำหน้าที่ในการรอคอย เพื่อทำการฆ่าเชื้อโรคที่เกิดขึ้นใหม่ได้อีกด้วย ยกตัวอย่าง เมื่อมีการลงไปแช่ตัวในอ่างของลูกค้า ก็จะเป็นการนำสิ่งปนเปื้อนใหม่ลงไปในอ่าง ฟรีคลอรีนที่รอคอยอยู่ในน้ำก็จะทำหน้าที่ในการฆ่าเชื้อโรคใหม่ที่เกิดขึ้นทันที เป็นต้น

2. ส่วนที่ 2 คือ คอมไบน์คลอรีน หรือ คลอรีนตกค้าง ซึ่งคลอรีนตกค้าง เป็นคลอรีนที่เกิด่จากการรวมตัวกับสิ่งปนเปื้อนในอ่างน้ำร้อน โดยไม่ยอมฆ่าเชื้อโรค เป็นคลอรีนที่ไม่ดี เป็นคลอรีนที่ลอยตัวอยู่ในน้ำแต่ไม่ยอมทำงาน หากคลอรีนที่ตกค้างภายในอ่างน้ำร้อนมีการสะสมตัวที่สูงขึ้น จะเป็นสาเหตุทำให้เกิด อาการแพ้ อาการคัน เส้นผมแห้ง มีผื่นขึ้นตามผิวหนัง ต่อตัวลูกค้าได้
อ่างน้ำร้อนที่มีปริมาณคลอรีนตกค้างสูง จะเป็นสาเหตุทำให้เกิดปัญหาน้ำเสียได้อีกด้วย ซึ่งผลกระทบที่เห็นได้ชัด คือ จะทำให้น้ำในอ่างเป็นสีเขียว อันเนื่องมาจากมีการเติบโตของตะไคร่น้ำ หรือ อาจทำให้น้ำมีความขุ่นมัว อันเนื่องมาจากการเติบโตของสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก การเสริมจุดอ่อนของคลอรีนจากการทำงานของระบบโอโซน จะทำให้คลอรีนตกค้างเกิดการแตกตัวทางโมเลกุลเคมี หรือ เป็นการทำให้คลอรีนตกค้างสลายตัวไปได้ครับ นอกจากนี้ยังทำให้เกิดการกระตุ้นการทำงานของฟรีคลอรีนเพิ่มขึ้น เป็นการส่งเสริมให้คลอรีนมีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อโรคที่สูงขึ้นได้อีกด้วย

ตามหลักมาตรฐานสำหรับอ่างน้ำร้อน ควรจะมีค่าคลอรีนรวมอยู่ที่ 3 - 5 ppm แต่ อ่างน้ำร้อนที่มีการติดตั้งระบบโอโซน เพื่อทำงานร่วมกับการใช้คลอรีน จะสามารถลดอัตราการใช้คลอรีนภายในอ่างน้ำร้อนให้เหลือ 1 - 2 ppm ได้ หรือ หากจะพูดให้เข้าใจง่ายขึ้นก็ คือ ระบบโอโซนสามารถช่วยลดการใช้คลอรีน ให้น้อยได้นั่นเองครับ
ข้อจำกัดของระบบโอโซนในอ่างน้ำร้อน

ระบบโอโซนภายในอ่างน้ำร้อน Outdoor  จะมีปริมาณในการผลิตโอโซนที่ไม่คงที่ เนื่องจากระบบโอโซนใช้อากาศที่เราหายใจเป็นสารตั้งต้นในการผลิตโอโซน ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อค่าออกซิเจนในอากาศให้ระดับที่ลดน้อยลง คือ ความชื้น หากสภาพแวดล้อมพื้นที่ติดตั้งอ่างน้ำร้อนอยู่ในจังหวัดที่มีสภาพอากาศ ความชื้นสูง จะส่งผลให้ระบบโอโซนมีประสิทธิภาพในการผลิตที่ต่ำลง เช่น ในจังหวัดที่มีฝนตกตลอดทั้งปี หรือ มีการติดตั้งอ่างท่ามกลางธรรมชาติ ในป่าเขา ที่มีอากาศชื้นจัด
เมื่อกล่าวถึงในแง่ของการใช้งานระบบโอโซน จึงมีหลักในการเปิดใช้งานดังนี้ คือ ยิ่งมีการเปิดให้มีชั่วโมงในการทำงานของระบบโอโซนได้นานมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งทำให้น้ำในอ่างมีความสะอาดได้มากตามไปด้วย และ สำหรับลูกค้าที่อยู่ในจังหวัดที่มีสภาพอากาศชื้นมากกว่าส่วนอื่นของประเทศ ทางคิวแอนด์จึงจะแนะนำให้มีการเปิดใช้ชั่วโมงการทำงานมากกว่าลูกค้าจังหวัดอื่นครับ

อายุการใช้งานของระบบโอโซนที่ทางคิวแอนด์จี จัดจำหน่าย โดยเฉลี่ยแล้วจะมีอายุ 4 - 5 ปี เมื่อถึงกำหนดครบอายุการใช้งาน ลูกค้าจำเป็นต้องซื้ออุปกรณ์ ระบบโอโซนใหม่ เพื่อทำการเปลี่ยนทดแทนของเดิม เพื่อเป็นการรักษาประสิทธิภาพของการใช้น้ำในอ่างที่สะอาด ดีต่อตัวสุขภาพของลูกค้าเอง

ส่วนประกอบของอุปกรณ์ระบบโอโซน ภายในอ่างน้ำร้อน มีดังต่อไปนี้

  1. กล่องผลิตโอโซน
  2. ระบบท่อโอโซน
  3. วาล์วป้องกันน้ำย้อน หรือ เช็ควาล์ว
  4. หัวจ่ายโอโซน

อุปกรณ์ของระบบโอโซนทั้ง 4 ส่วนนี้ โดยส่วนใหญ่ภายในอุตสาหกรรมอ่างน้ำร้อน Outdoor จะนิยมใช้เป็นอุปกรณ์มาตรฐาน แต่สำหรับอ่างน้ำร้อนบางรุ่น จะมีการติดตั้งอุปกรณ์ผสมโอโซนเข้ากับน้ำในอ่าง หรือ กระบอกผสมโอโซน ซึ่งโดยหลักการแล้ว กระบอกผสมโอโซนจะช่วยให้ระบบโอโซนมีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อโรคที่สูงขึ้นภายในระบบท่อ เมื่อเปรียบเทียบการจ่ายระบบโอโซนเข้าไปยังพื้นที่หลักของอ่างน้ำร้อนโดยทันที ซึ่งการติดตั้งกระบอกผสมโอโซน จะพบได้ในอ่างทีมีปริมาณน้ำมาก หรือ อ่างขนาดใหญ่
จุดอ่อนของระบบโอโซน

ลูกค้าอาจจะมีความสงสัยใช่ไหมครับว่า เมื่ออ่างน้ำร้อน Outdoor มีการทำงานของระบบโอโซนอยู่แล้ว ทำไมถึงไม่ใช้ระบบโอโซนในการฆ่าเชื้อโรคเพียงเดียว โดยไม่ต้องใส่คลอรีนลงไปในอ่าง

สาเหตุก็เพราะ ระบบโอโซน ก็มีจุดอ่อนครับ การทำงานของระบบโอโซน เป็นการฆ่าเชื้อโรคภายในระบบท่อของอ่างน้ำ ซึ่งจะต้องใช้ระยะเวลาและมีชั่วโมงในการทำงานที่เหมาะสม ในการดึงน้ำทั้งหมดภายในอ่างเข้าสู่การฆ่าเชือโรคด้วยระบบโอโซน และเมื่อระบบโอโซนถูกผลิตออกมาเพื่อทำหน้าที่ในการฆ่าเชื้อโรค โอโซนเหล่านี้จะสลายตัวกลายเป็นออกซิเจนทันที หลังจากการฆ่าเชื้อโรคเสร็จเรียบร้อย โอโซนไม่สามารถที่จะคงตัวอยู่ในน้ำได้ เมื่อระบบโอโซนภายในอ่างน้ำร้อนหยุดการทำงาน จึงมีการเจริญเติบโตของ เมือก ตะไคร่ แบคทีเรีย และ สิ่งปนเปื้อนต่าง ๆ ทำให้น้ำในอ่างมีความสกปรกได้ในที่สุด
ส่วน คลอรีนมีความสามารถในการคงตัวอยู่ในน้ำได้นานกว่าระบบโอโซน คลอรีนสามารถกระจายตัวไปไปได่ทั่วทั้งอ่าง จึงสามารถทำหน้าที่ในการฆ่าเชื้อโรค ในส่วนที่เป็นจุดอ่อนของระบบโอโซนได้ ไม่ใช่เฉพาะการฆ่าเชื้อโรคในระบบท่อเท่านั้น ซึ่งน้ำในอ่างจะมีคอลรีนที่รอคอยกำจัด สิ่งสกปรกที่เกิดขึ้นใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตะไคร่น้ำ เมือก ที่เติบโตบริเวณผนังอ่าง ซึ่งเป็นจุดอับที่ระบบโอโซนจะเข้าถึงได้ยาก
ดังนั้น ในการบำบัดน้ำภายในอ่างน้ำร้อน เพื่อให้ลูกค้ามีน้ำในอ่างพร้อมใช้งานทุกช่วงเวลาที่ลูกค้าต้องการ เพื่อให้ลูกค้าสามารถที่จะลงแช่น้ำอุ่น หลังการอาบน้ำได้ทันที จึงต้องมีการเปิดใช้งานระบบโอโซน ที่มีชั่วโมงในการทำงานที่เหมาะสมกับขนาดอ่างน้ำ และ การใช้คลอรีนเป็นตัวฆ่าเชือโรคเสริมเข้าไปด้วย ซึ่งจะทำให้น้ำอ่างมีความสะอาดได้มากกว่าการเลือกเปิดใช้งานระบบโอโซนเพียงอย่างเดียว และยังมีความปลอดภัยต่อสุขภาพของลูกค้า ด้วยการลดปริมาณการใช้คลอรีนให้น้อยลงได้อีกด้วยครับ

สิ่งสำคัญของการเป็นเจ้าของอ่างน้ำร้อน คือ สามารถใช้งานระบบโอโซน เพื่อสร้างประโยชน์ให้กับตัวลูกค้าเองได้ เพราะถ้าลูกค้าซื้ออ่างน้ำร้อนที่มีการติดตั้งระบบโอโซน แต่ไม่รู้ว่าวิธีการสั่งงาน ไม่รู้วิธีการตั้งค่า ไม่รู้ข้อมูลในเรื่องการเปิดให้ระบบโอโซนทำงาน ในระยะเวลาที่เหมาะสมc]tเพียงพอต่อขนาดอ่างน้ำร้อน ก็จะสูญเสียคุณค่าของงบประมาณที่ลูกค้าจ่ายซื้ออ่างน้ำร้อนที่มีการติดตั้งระบบโอโซน ทางคิวแอนด์จี จึงแนะนำให้ลูกค้าเลือกซื้ออ่างน้ำร้อน Outdoor จากผู้จัดจำหน่า่ยที่มีความสามารถในการแนะนำเรื่องวิธีการใช้งานระบบโอโซนให้แก่ลูกค้าได้

ข้อมูลเรื่องระบบโอโซนของอ่างน้ำร้อน Outdoor  โดย
ห้างหุ้นส่วนจำกัด คิวแอนด์จี - Q&G Limited Partnership
โทร. 087-816-6383
อีเมล์ Ask.QandG@gmail.com
QandGTub.com
โดย Q&G 23 เมษายน 2567
  ในบทความนี้ทางคิวแอนด์จี จะนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับอ่างน้ำร้อน ( Hot Tub ) ที่นอกจากจะให้ประโยชน์ด้านความเป็นส่วนตัวได้หลากหลายแง่มุมแล้ว สามารถเป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งสำหรับการพักผ่อนบริเวณภายนอกบ้าน สามารถยกระดับในด้านความความสุขความผ่อนคลาย จากคุณสมับติการทำงานของอ่างน้ำร้อน รวมไปถึงเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมให้ได้ใช้เวลาร่วมกับสมาชิกภายในครอบครัว  ซึ่งอ่างน้ำร้อนยังสามารถให้ประโยชน์ในเชิงสุขภาพและการบำบัดปัญหาต่าง ๆ ด้านร่างกายได้อีกด้วย
 
  การลงแช่ตัวในอ่างน้ำร้อน สามารถสร้างคุณประโยชน์ต่อด้านร่างกายได้หลากหลาย โดยการนำไปประยุกต์ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ในการฟื้นฟู การบำบัด การบรรเทาอาการเจ็บปวด และ ปัญหาด้านสุขภาพได้ตามศาสตร์ของธาราบำบัด การแช่ตัวในอ่างน้ำร้อน สามารถส่งผลให้เกิดประโยชน์ด้านสุขภาพ ได้จาก 3 ปัจจัยหลัก ดังต่อไปนี้

  1. ระบบนวดเจ็ท ( Hydrotherapy Jets Massage )
  2. อุณหภูมิของน้ำอุ่น ( Warm Water ) อุณหภูมิความร้อน 35 - 40 องศาเซลเซียส
  3. คุณประโยชน์จากแรงพยุงตัวของน้ำ ( Buoyancy )
โดย Q&G 19 เมษายน 2567
  ในบทความนี้ทางคิวแอนด์จี จะนำเสนอแง่มุมข้อดีของการเป็นเจ้าของอ่างน้ำร้อน เพื่ออธิบายเพิ่มเติม ถึงความจำเป็นของประเภทสินค้า ที่กำลังกลายเป็นส่วนหนึ่งขององค์ประกอบให้กับบ้าน สำหรับผู้คนจากหลากหลายประเทศทั่วโลก โดยมีการตอบรับที่สะท้อนให้เห็นถึงกระแสความต้องการ จนทำให้อุตสาหกรรมการผลิตอ่างน้ำร้อนเติบโตในวงกว้าง ซึ่งนอกจากจะเป็นประโยชน์โดยตรงเฉพาะส่วนบุคคลแล้ว ยังสามารถให้ผลดีต่อเนื่องแก่สังคมครอบครัว เครือข่ายความสัมพันธ์ของผู้คนใกล้ตัวได้อีกด้วย
โดย Q&G 8 เมษายน 2567

  ในบทความนี้ทางคิวแอนด์จี จะมานำเสนอแง่มุมคุณประโยชน์ของการเป็นเจ้าของอ่างน้ำร้อน เพื่อใช้สำหรับการแช่น้ำอุ่นบริเวณพื้นที่ภายนอกบ้าน ที่จะส่งผลให้ข้อดีต่อความเป็นส่วนตัวของลูกค้า ( Privacy ) เพื่อตอบโจทย์วิถีชีวิต การเพิ่มระดับคุณภาพชีวิต การให้คุณค่าของความสุขอันพิเศษเฉพาะตน ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ที่บ้าน อันเป็นสถานที่ให้ความรู้สึกสบายใจได้ทุก ๆ วัน


เพื่อความผ่อนคลาย แบบส่วนตัว


  คุณประโยชน์ของการเป็นเจ้าของอ่างน้ำร้อนภายนอกบ้าน คือ การสร้างพื้นที่ในการพักผ่อนแบบส่วนตัว โดยลูกค้าสามารถผ่อนคลายไปกับการแช่น้ำที่บ้าน โดยไม่ต้องพบปะคลุกคลีกับบุคคลอื่นที่เราไม่ได้รู้จัก การผ่อนคลายในสถานที่ส่วนตัว เป็น  ความสุข ด้วยการหลีกออกจากสังคมภายนอก ต่างไปจากการใช้บริการในสถานดูแลสุขภาพ เช่น ส่วนกลางสปาของโรงแรม รีสอร์ท บ่อน้ำอุ่นแบบรวม ศูนย์ธาราบำบัด บ่อน้ำแร่ออนเซ็น เป็นต้น


Show More